วิธีแก้ปัญหาเวลาเด็กขึ้นเครื่องบินแล้วหูอื้อ รวมถึงวิธีการดูแลเด็กบนเครื่องบิน

เวลาเครื่องขึ้นบินนั้นความกดอากาศจะเปลี่ยนแปลงแบบกระทันหันทำให้มีอาการหูอื้อโดยส่วนมากขาลงเด็กจะมีอาการปวดหูนานมากกว่าขาขึ้นเราจึงมีวิธีการเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์นี้ดังนี้

รวม 8 วิธีแก้ปัญหาหูอื้อบนเครื่องบิน

1. ให้เด็กกินนม, น้ำ  หรือเครื่องดืมที่เด็กชอบโดยปกติเราจะเตรียมนมที่เขาชอบทานเอาไว้ตั้งแต่ก่อนมานั่งเครื่องซึ่งตอนเครื่องขึ้น- ลงเราจะให้ลูกเรากินนมไปเรื่อยๆแต่ก่อนขึ้นเครื่องนั้นพยายามอย่าให้เขากินนมหรือน้ำมาเยอะมากไม่งั้นจะอิ่มจนไม่สามารถกินต่อได้

2. ขนมเด็กจะมีขนมที่เขาชอบทานประจำอยู่ตรงนี้เราก็เตรียมไปให้เขากินระหว่างที่เขาปวดหู

3. ของเล่นเก็บของเล่นอันใหม่หรือที่เขาชอบเล่นไว้เอาไว้ล่อให้เขาสนใจเรื่องอื่นในระหว่างเครื่องขึ้นหรือลงเช่นสมุดสติกเกอร์, ไข่เซอร์ไพรส์ เป็นต้น

4. ให้เด็กใช้กำลังก่อนขึ้นเครื่องจะช่วยได้มากถ้าหากเขาได้วิ่งเล่นหรือทำอะไรสักอย่างที่เขาเหนื่อยมากพอเวลาขึ้นเครื่องเขาก็จะนอนหลับเลย(ต้องระวังไม่ให้รบกวนคนอื่นในสนามบิน)

5. ให้นอนน้อยๆการให้เด็กน้อยน้อยๆก่อนวันขึ้นเครื่องและไม่ให้เขานอนเลยระหว่างวันจนกว่าจะขึ้นเครื่องวิธีนี้จะทำให้เขาเพลียและพอขึ้นเครื่องเขาก็จะหลับเองเลยแต่ในบางครั้งก็อาจจะทำให้เขาเพลียมากจนเกินไปจนอ๊วกออกมาได้เพราะเขาพักผ่อนไม่เพียงพอต้องระวัง

6. Chupa Chups ลูกอมที่เด็กไม่ควรทานมากๆ แต่ตอนขึ้นเครื่องมันช่วยได้เยอะมากๆ เพราะว่าการที่เด็กได้อมแล้วดูดไว้นั้นจะทำให้กลึนน้ำลายตัวเองตลอดเวลา เอาไว้เป็นไม้ตายนาทีสุดท้ายสุดนะครับ สำหรับผู้ปกครองบางทันที่กลัวเด็กจะกินของไม่มีประโยชน์ ผมแนะนำเลยว่าการใช้ลูกอมมีประโยชน์มากกว่าจะให้โทษ (เฉพาะบนเครื่องบิน) ถ้าไม่ได้ลูกอมจะยากมากที่จะแก้ปัญหาหูอื้อของเด็กๆ อาจจะทำให้น้องๆ ร้องให้ทั้งแต่เครื่องขึ้น – ถึงเครื่องลงได้เลย เพราะเฉพาะนั้นอยากให้ซื้อติดกระเป๋าไว้เลย

7. คล้ายๆ ลูกอมครับแต่เป็นจุกนมเด็กที่เป็นของปลอม ตรงนี้ก็ช่วยได้เช่นกันครับ แต่จะไม่เหมาะกับเด็กที่มีอายุมากกว่า 2 ขวบเท่าไร เพราะเขาอาจจะคิดถึงมันได้ครับ หลังการได้ใช้มันแล้ว

8. Flight Ear Plugs สำหรับเด็ก จุกอุดหูช่วยให้ความดันอากาศในหูชั้นกลางพอดีกับหูภายนอก มีขายตามร้านขายยาขนาดใหญ่

ทั้ง 8 วิธีที่แนะนำมานั้นท้ายที่สุดแล้วอาจจะช่วยไม่ช่วยให้เขาหายหูอื้อสักวิธีเดียวเลย ผมก็มีวิธีอีกวิธีแนะนำนั้นก็คือการปลอบเขา คอยพูดกับเขาตลอดเวลา พยายามหาในสิ่งที่เขาต้องการมาให้เขา และดูแลไม่ให้เขาอาละวาดบนเครื่องบินครับ ตอนเครื่องจอดแนะนำให้เขาขอโทษคนรอบๆ ที่นั่งเขาด้วยก็จะดีมากครับ ส่วนเด็กที่ยังกินนมแม่ก็ถือว่าเป็นโชคดีครับ ให้เขากินตอนเครื่องขึ้นและลงได้เลยไม่ต้องกังวลอะไร โดยช่วงเวลานั้นเป็นช่วงเวลาที่สบายที่สุดครับ ในการพาลูกขึ้นเครื่องบิน

หัวข้ออีกเรื่องที่ผมอยากเขียนถึงคือวิธีการดูแลเด็กบนเครื่องบินครับ เนื่องจากมันต่อเนื่องกันเลยใส่มาเลยในบทความเดียวกันนะครับ

วิธีการดูแลเด็กระหว่างการบินบนเครื่องบิน

ก่อนจะไปเรื่องนี้ผมอยากอธิบายให้เขาใจก่อนครับว่าทำไมเด็กถึงร้องและไม่อยู่นิ่งๆ ถ้าไม่นับเด็กที่ยังไม่เข้าใจคำพูดของเราได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะอายุต่ำกว่า 1 ปีลงไปนั้นจะเป็นแบบนี้ครับ เด็กจะในช่วงอายุ 2 ขวบขึ้นไปจะเริ่มมีความคิดเป็นของตัวเองมากขึ้นตามอายุของเขาเอง ซึ่งเขาจะมีความอยากรู้อยากเห็น สนใจสิ่งต่างๆ รอบตัวมากซึ่งเป็นส่วนสำคัญมากที่ทำให้เขามีพัฒนาการที่ดี ซึ่งโดยมากหากเด็กเข้าใจที่พ่อกับแม่พูดแล้วหลัง 1 ขวบขึ้นไปจะเริ่มต่อต้านพ่อแม่ด้วยและร้องไห้ในบ้างครั้งก็ไม่สนใจที่พ่อกับแม่พูดเลย ถามว่าปกติม ก็เป็นปกติของเด็กวัยนี้ครับหากท่านมีลูกอยู่แล้วจะเข้าใจเป็นอย่างมาก ส่วนบางคนยังไม่มีลูกพูดให้เหนื่อยยังไงก็อยากที่จะเข้าใจถึงจิตใจของเด็กครับ สิ่งคำคัญคือการที่เรานั่งเครื่องบินกับเด็กแล้วเด็กร้องไห้งอแง้หรือโวยวายนั้น เขามีพฤติกรรมตลอดทั้งไฟท์ที่บินเลยหรือป่าวถ้ามีเฉพาะตอนเครื่องขึ้น-ลงอยากให้เข้าใจเข้าตรงนี้ด้วยนะครับ ว่าผู้ปกครองก็ไม่อยากให้เกินเรื่องอย่างนี้ขึ้นเลย แต่มันจำเป็นจริงๆ ถ้าว่าเด็กวิ่งเล่นโวยวายตลอดทั้งไฟท์แนะนำให้แจ้งแอร์ได้เลยครับว่าเสียงเด็กดังจนเกินไปและรำคาญมากให้ผู้ปกครองดูแลเด็กด้วย แบบนี้จะดีกับท่านเองครับดีกว่าไปพูดกับผู้ปกครองตรงๆ ครับ จะได้ไม่เกิดเหตุการณ์ทะเลาะกันบานปลายเพราะผู้ปกครองบางคนก็ไม่สนใจคนอื่นเลยก็มีครับ ส่วนตัวผมแนะนำให้เราแก้ปัญหาด้วยการใส่หูฟัง ดูหนัง, ฟังเพลงไปเลยครับ หากเด็กถีบเบาะหลายๆ ครั้งก็แจ้งผู้ปกครองไปเลย แค่นี้ก็ลดความรำคาญได้เยอะแล้วครับ เพื่อตัวท่านเอง เพื่อตัวท่านเองนั่งเครื่องนานๆ แบบนี้ก็ควรเตรียมตัวรับมือกับเสียงเด็กเผื่อไว้ด้วยครับ ต้องขออภัยด้วยที่ผมพิมพ์ไรสาระยาวเกินแต่ช่วงนี้เจอดรามาเรื่องนี้บ่อยมากจนทนไม่ไหวต้องมาพิมพ์เพิ่มเลยครับ

หากผู้ปกครองท่านใดยังไม่เคยพาลูกขึ้นเครื่องบินเลยผมจะมาแนะนำวิธีการดูแลลูกบนเครื่องครับ โดยจะอธิบายคร่าวๆ แยกเป็นส่วนๆ ได้ดังนี้

  1. เมื่อขึ้นเครื่องทุกครั้งต้องรัดเข็มขัดจนกว่าไฟรัดเข็มขัดจะปิด ตรงนี้ให้เราพยายามอย่าให้เขาถอนออกมาครับ เพราะทางสายการบินซีเรียสมาก ซึ่งขึ้นเครื่องบินไปเราก็พยายามหาของเล่นให้เขาเล่นเลยเบียงเบนความสนใจเขา
  2. หลังเครื่องขึ้นแล้วและถอนไฟเข้มขัดออกได้เด็กจะร้องให้เกือบทุกครั้งครับเพราะความดันเปลี่ยน ก่อนหน้านั้นดูแลเขาให้ดีครับ ใช้วิธีการข้างบนได้เลย หลังจากที่เครื่องบินขึ้นเสร็จก็พาเขาออกมาดูก้อนเมฆก็ได้ครับว่าเราบินอยู่นะ ถ้าเขายังเด็กเกินไปก็หาของเล่นอื่นๆ มาเล่นกับเขาต่อไป
  3. ในระหว่างที่เครื่องบินกำลังบินเราอย่าให้ลูกเดินไป เดินมา หรือให้เขาดันเบาะคนข้างหน้า และอย่าให้เขาร้องโว้ยวาย พยายามปลอบลูกให้สงบให้ไวที่สุดครับ ถ้าอยากสอนลูกให้ไปสอนทีหลังเอา โดยปกติผมก็จะมีของเล่นให้ลูกเล่นหลากหลายแบบ เพื่อให้เขาไม่เบื่อ แต่มันก็เป็นปกติของเด็กครับบางคนไม่อยากอยู่นิ่งเลย ตรงนี้พยายามหัดเขามาจากบ้าน ให้เขารู้จักการนั่งนิ่งๆ จะดีที่สุดครับ บางครั้งถ้าเอาไม่อยู่จริงๆ ก็ปล่อยให้ดูการ์ตูนบนมือถือ หรือเปิด IPAD ให้ดูไปเลยก็ได้ครับ เพื่อไม่ให้น้องร้องให้รบกวนคนอื่น การปล่อยให้เล่นมือถือหรือ IPAD จะช่วยให้สงบได้มาก หากว่าผู้ปกครองท่านใดไม่อยากให้ลูกเล่นมือถือจริงๆ ทางเราจะแนะนำอย่างนี้ครับ การที่เด็กวิ่งหรือร้องให้บนเครื่องบินนานๆ นั้นเป็นการรบกวนผู้โดยสารคนอื่นมากๆ เราที่เป็นผู้ปกครองจะต้องทำทุกวิธีเพื่อให้เด็กๆ ของเราสงบให้มากที่สุด เพื่อจะได้เป็นการช่วยเหลือคนอื่นที่อยู่บนเครื่องไม่ให้ฟังเสียงของลูกของเราร้องให้บนเครื่องบิน

หากพ่อกับแม่ท่านใดอยากรู้วิธีการพาลูกเครื่องบินยังไงให้บินไกลๆ ได้ไม่ให้เหนื่อยพ่อกับแม่ ลองมาดูวิธีการของผมดูครับ

  • ขึ้นเครื่องครั้งแรกไม่ควรนั่งเครื่องนานจนเกินไป ให้ดีครั้งแรกก็นั่งซัก 1 ชม. ก็พอแล้วครับ เช่นจากกรุงเทพ – ภูเก็ต 1 ชม. ประมาณนี้ครับ จะช่วยให้เราได้ทำความคุ้นเคยกับการพาลูกขึ้นเครื่องบินก่อนบินไปไกลๆ ไปต่างประเทศ
  • ไม่ควรต่อเครื่องหลายครั้ง การต่อเครื่องมันเหนื่อยทั้งพ่อและแม่แล้วก็เด็กด้วยครับ หาก 1 วันเราบินต่อสองรอบเราก็ต้องดูแลเขาตลอด 2 สนามบินครับ ผมเคยพาลูกต่อแบบนี้ เขาเพลียมากจนอ๊วกไปหลายรอบเลยเหมือนกันครับ แต่ก็ไม่ใช่กับเด็กทุกคนนะครับที่จะไม่ไหว บางคนหากชินแล้วก็สามารถต่อได้ครับ ถ้าจำเป็นต้องต่อเครื่องพยายามให้ต่อข้ามวันน่าจะดีกว่าครับ เช่นไปญี่ปุ่น จากเชียงใหม่ -> ลงสิงค์โปร -> ต่อไปญี่ปุ่น แบบนี้ครับ
  • ตอนอยู่บนเครื่องบินหากเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบส่วนมากเขาจะให้นั่งกับแม่ครับ หากเกิน 2 ขวบขึ้นไปก็แล้วแต่สายการบินว่าจะแยกที่นั่งให้เลยไหมครับ โดยบางทีไม่ถึง 2 ขวบเขาให้แยกเลยก็มีนะครับ ดูเป็นเคสไป หากเขาจะออกมาจากเข้มขัดก็พยายามพูดให้เขาเข้าใจครับว่าออกไม่ได้เด็ดขาด

เนื่องจากสายการบินจะมีกฏบังคับเกี่ยวกับการพาเด็กขึ้นเครื่องบินอยู่ครับผมเลยมีข้อมูลของสายการบินแห่งหนึ่งมาให้อ่านดูครับว่าเขามีกฏอย่างไรเกี่ยวกับการพาเด็กขึ้นเครื่อง

  • เด็กอายุต่ำกว่า 14 วันห้ามเดินทาง
  • เด็กที่อายุตั้งแต่ 14 วัน – 2 ขวบต้องนั่งตักผู้ใหญ่โดย ผู้ใหญ่ 1 คนต่อเด็ก 1 คน
  • เด็กที่อายุตั้งแต่ 2 ขวบ – 12 ปี ไม่สามารถเดินทางโดยไม่มีผู้ปกครอง
  • เด็กที่อายุตั้งแต่ 12 -16 ปี เดินทางเองได้แต่ไม่สามารถพาเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 12 ปีเดินทางไปด้วยกันได้
  • ผู้โดยสารที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไปเดินทางเองได้และพาเด็กที่อายุต่ำว่า 12 ปีเดินทางไปด้วยกันได้

เอกสารที่ใช้ในการเดินทาง

  • เด็กที่อายุตั้งแต่ 14 วัน – 7 ขวยใช้สูติบัตร(ของจริงเท่านั้น) หรือ Passsport ใช้ในการเช็คอิน
  • ผู้โดยสารอายุตั้งแต่ 7 ขวบ – 15 ปีใช้สูติบัตร(ของจริงเท่านั้น) หรือ Passsport หรือบัตรประชาชนเด็ก ในการเช็คอิน
  • ผู้โดยสารอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปใช้บัตรประชาชนหรือ Passsport ใช้ในการเช็คอิน

โดยการจองตั๋วเครื่องบินทุกครั้งเราจะต้องทำการจองพร้อมกับผู้ใหญ่นะครับโดยมากแล้วแต่ละสายการบินจะมีส่วนลดให้กับเด็กที่มีอายุไม่ถึง 2 ขวบครับ อาจจะได้ลด 50% หรือ 30% ก็แล้วแต่ขึ้นอยู่กับสายการบินเอง หากเด็กอายุ 2 ขวบขึ้นไปก็จ่ายเท่าผู้ใหญ่ครับ นอกจากนี้แล้วโดยมากสายการบินจะยอมให้เราสามารถโหลดรถเข็นเด็กตอนเราเดินไปขึ้นเครื่องได้ด้วยนะครับ หากเรามีเด็กอยู่ซึ่งตรงนี้ค่อนข้างสะดวกมากสำหรับผู้ปกครองที่มีเด็กเล็กไม่ต้องรีบโหลดที่หน้าเค้าเตอร์ครับ แต่ให้ลองติดต่อเค้าเตอร์ดูก่อนว่าเขายอมให้เขาไปโหลดหน้าเครื่องด้วยไหมนะครับ

One thought on “วิธีแก้ปัญหาเวลาเด็กขึ้นเครื่องบินแล้วหูอื้อ รวมถึงวิธีการดูแลเด็กบนเครื่องบิน”

  1. Thanks for finally writing about >วิธีแก้ปัญหาเวลาเด็กขึ้นเครื่องบินแล้วหูอื้อ รวมถึงวิธีการดูแลเด็กบนเครื่องบิน
    : Sutenm.com <Loved it!

Comments are closed.