วัยเด็ก
สภาพความเป็นอยู่
อากิโอะ โมริตะ เป็นลูกชายคนโตของเคียวซาเอมอนและชูโกะ โมริตะ ซึ่งอยู่ในครอบครัวที่ค่อนข้างมั่งคั่งในญี่ปุ่นมีพี่น้อง 3 คนเป็นผู้ชายทั้งหมด โดยทำธุรกิจเหล้าสาเกจนโด่งดังและเป็นที่ยอมรับที่สุด ความเป็นอยู่เป็นไปอย่างสะดวกสบายมีบ้านหลังใหญ่และมีหลายครอบครัวอาศัยในบ้านหลังนี้ การที่มั่งคั่งนี้เองจึงทำให้ความคิดความอ่านค่อนข้างที่จะเป็นตะวันตก มีญาติหลายคนไปเรียนในยุโรป และหลงใหลในอุปกรณ์ใหม่ ๆ ของยุโรปพอสมควร จนทำให้เด็กคนนี้มีความฝันที่จะสร้างเครื่องเล่นแผ่นเสียงไฟฟ้าและบันทึกเสียงของตัวเองใหได้
สำหรับการศึกษา เนื่องจากความสนใจในด้านคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี และชอบด้านการทดลองเป็นชีวิตจิตใจ ทำให้ผลการเรียนวิชาอื่น ๆ จึงออกมาแย่ สิ่งที่เขาพยายามทดลองคือสร้างเครื่องบันทึกเสียงแต่ก็ล้มเหลว ในที่สุดหลังจากที่จบมัธยมปลายเขาก็ได้เลือกเรียนต่อในสาขาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยโอซาก้าอิมพีเรียล แทนที่จะเลือกเศรษฐศาสตร์ตามที่พ่อของเขาต้องการ แต่อย่างไรก็ดีขณะที่เขาเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยนั้น ญี่ปุ่นได้เปิดสงครามมหาเอเชียบูรพารวมไปถึงการรบกับอเมริกาด้วย ผู้ชายที่มีอายุเกิน 18 ปีจะต้องถูกเกณฑ์ทหาร อย่างไรก็ตามเขาเลือกที่จะเข้าสมัครเป็นทหารช่างเพื่อทดลองเกี่ยวกับอาวุธชิ้นใหม่ให้กับกองทัพ น้องชายทั้งสองของเขาก็เช่นกันได้ถูกเกณฑ์ไปเป็นทหารเช่นเดียวกัน แต่เคราะห์ดีที่สงครามสิ้นสุดเสียก่อนที่พวกเขาจะออกรบ โดยช่วงที่มีสงครามนั้นทหารจะมีอำนาจเหนือการเมืองมาก ข่าวสารทั้งหมดจะผ่านทางข่าวทหารและปกปิดข่าวจริงเพื่อประโยชน์ในด้านยุทธศาสตร์ตลอดเวลา และจากการที่เข้าเป็นทหารวิจัยนี้เองทำให้เขาได้รู้จักกับ มาซารุ อิบูกะ ( ซึ่งเป็นคู่หูในการจัดตั้งบริษัท SONY ต่อมา ) ซึ่งเป็นลูกเจ้าของเครื่องมือวัดแห่งญี่ปุ่น หลังจากสู้รบอย่างยาวนานในที่สุดญี่ปุ่นก็ประกาศยอมแพ้สงครามเนื่องจากความย่อยยับของบ้านเมืองหลังจากการโจมตีของฝ่ายสัมพันธมิตร และการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ของอเมริกา
การมองถึงโอกาส
แน่นอนว่าเมื่อสิ้นสุดสงครามแล้ว โมริตะและพี่น้องของเขาได้กลับบ้าน แต่สภาพของบ้านเมืองในตอนนั้นแร้นแค้นมาก การขาดแคลนเครื่องมือแพทย์และการตกงานของประชาชนทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างดูหมดหวัง ในขณะที่เขากลับบ้านเขาก็ยังติดต่อกับอิบูกะอยู่เสมอ ๆ ซึ่งโรงงานเขาก็ถูกระเบิดทำลายจนต้องย้ายไปอยู่นอกเมืองเช่นเดียวกัน และจากการติดต่อกันจึงรู้ถึงว่าอิบูกะกำลังทำห้องทดลองในโตเกียวอยู่และต้องการให้โมริตะมาช่วยเพื่อร่วมกันก่อตั้งธุรกิจใหม่ขึ้นมา จากความรู้ ความสามารถและธุรกิจของอิบูกะที่ประสบความสำเร็จพอสมควร โดยเฉพาะ Project ใหม่ที่ท้าทาย ทำให้เขาตัดสินใจเดินทางมาโตเกียวเพื่อทำธุรกิจกับอิบูกะทันทีที่เขาส่งจดหมายเชิญ
ช่วงเริ่มต้นธุรกิจ
เมื่อโมริตะเดินทางมาถึงโตเกียวก็ทำงานสอนในมหาวิทยาลัยรวมถึงทำงานบริษัทไปด้วย โดยร่วมจัดตั้งบริษัทขึ้นมาในปี 1946 ชื่อ “ บริษัท วิศวกรรมโทรคมนาคมแห่งโตเกียว “ ซึ่งโมริตะได้เสี่ยงมากเนื่องจากเขาจะเป็นผู้สืบทอดกิจการของที่บ้านอยู่แล้ว แต่กลับมาโตเกียวตามลำพังเพื่อหาธุรกิจใหม่ อย่างไรก็ตามเนื่องจากเป็นบริษัทใหม่จึงต้องกลับไปยืมบริษัทพ่อเขาหลายครั้งโดยออกหุ้นให้แทน สถานที่ตั้งของบริษัทในช่วงแรกคือซากของห้างสรรพสินค้าที่ถูกระเบิดนั่นเอง และหลังจากสอนในมหาวิทยาลัยได้ไม่นานเขาก็ลาออกมา แน่นอน บริษัทของเขาต้องการทำในธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยเขาต้องทำหน้าที่ทุกอย่างทั้งส่งขึ้นรถ ขับรถหรือส่งเอกสาร เริ่มต้นได้เริ่มทำเครื่องบันทึกเสียงโดยใช้เส้นลวด แต่เนื่องจากไม่ทราบว่าโชคดีหรือร้าย บริษัทที่ทำเส้นลวดบางนี้ได้ไม่ยอมขายให้เนื่องจากเป็นบริษัทเล็ก และทำให้บริษัทของโมริตะไปพัฒนาในการใช้เทปแทน ซึ่งมีข้อดีกว่าการใช้ลวดบันทึกเสียงมากมายเพราะสามารถตัดต่อได้ ซึ่งเครื่องบันทึกเทปนั้นหัวใจอยู่ที่เทปซึ่งทั้งโมริตะและอิบุกะได้ทำการทดลองมาอย่างอดทนและในที่สุดก็สามารถเครื่องเล่นเทปได้
การที่คิดว่าเมื่อเราสามารถผลิตของดีได้แล้วจะทำให้เราสามารถขายได้มากเสมอ ความคิดนี้ผิดทันทีถ้าเราไม่สามารถแสดงให้เห็นได้ว่าสินค้าเรามีคุณค่าอย่างไร เมื่อเขาสามารถผลิตเครื่องเล่นเทปและเทปได้แต่คนส่วนใหญ่ไม่ซื้อ เนื่องจากมันเป็นของใหม่ที่คนทั่วไปไม่รู้จัก อาจเป็นเพราะว่ามันใหญ่และแพงเช่นนั้นหรือ ในที่สุดเขาก็พบว่าเนื่องจากคนไม่เห็นคุณค่ามันมากกว่า ดังนั้นเขาจึงไปสาธิตในที่ต่าง ๆ เช่น ศาล เพื่อใช้ในการบันทึกคำให้การแทนการจดชวเลขของเจ้าหน้าที่ การใช้ช่วยในการฝึกการออกเสียงภาษาอังกฤษ นอกจากนี้เขายังลดขนาดที่เทอะทะของมันให้เล็กลงและทำให้ราคาถูกลง ดันั้นสินค้าของเขาจึงขายได้เมื่อความต้องการมากขึ้นเขาจึงต้องขยายและย้ายบริษัทไปอยู่ในตัวเมือง และขอซื้อลิขสิทธิ์แรงดันไฟฟ้า AC ของ NEC เพื่อมาปรับปรุงเครื่องเล่นเทปของเขาอีกทางหนึ่งด้วย
เครื่องบันทึกเทปขายดีมากและเขาได้เดินทางไปอเมริกาเพื่อดูงานและได้ซื้อลิขสิทธิ์สิ่งประดิษฐ์ของ Bell Lap ในอเมริกาที่ชื่อว่า “ ทรานซิสเตอร์ “ กลับมาด้วยและเขาได้พัฒนามันเพื่อนำมาช่วยในการได้เสียงเหมือนจริงระดับสูง ( High Fidelity ) โดยการควบคุมความถี่เสียง แน่นอนว่ามันจะเข้ามาแทนที่หลอดสูญญากาศที่มีขนาดใหญ่เทอะทะ ในเมื่อมันเล็กกว่ามันก็จะสามารถเล่นได้นานกว่ามื่อเทียบกับแบตเตอรี่ขนาดเดียวกัน ซึ่งพัฒนาการเพิ่มกำลังของทรานซิสเตอร์ของเขา โดยการอาบฟอสฟอรัสในแผ่นเจอร์มาเนียมและได้ผลเป็นที่น่าพอใจในเวลาต่อมา
จากการที่บริษัทเขาใหญ่ขึ้น และการออกไปดูงานต่างประเทศทำให้เขารูสึกว่าชื่อบริษัทยาวเกินไป และต้องการเปลี่ยนมันรวมถึงสัญลักษณ์ที่ทำให้ผู้บริโภคสามารถจำได้ และจากการคัดเลือกรวมถึงการออกเสียงแล้ว ในที่สุดเขาก็ได้ชื่อออกมาคือ “ SONY “ ในปี 1953 นี้เองรวมไปถึงตราสัญลักษณ์ก็ใช้เหมือนชื่อโดยเป็นตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ตลอดมา
การดำเนินธุรกิจ
เมื่อรู้ว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ไม่มีทรัพยากร ดังนั้นการที่จะใหญ่ได้ต้องดูตลาดต่างประเทศเป็นหลัก โดยเฉพาะประเทศที่มั่งคั่งเช่นอเมริกาหรือยุโรป เป็นต้น และการทำเครื่องบันทึกเทปของเราได้ถูกคู่แข่งพัฒนาขึ้นมาแข่ง ดังนั้นเพื่อเป็นเอกลักษณ์เขาจึงเรียกเครื่องบันทึกเทปของเขาว่า “ วอร์คแมน “ เพื่อส่งตลาดต่างประเทศ เป็นที่รู้กันดีว่าสินค้าญี่ปุ่นช่วงก่อนสงครามโลกเป็นของที่มีคุณภาพต่ำ ดังนั้นการส่งออกสินค้าเขาจึงพยายามตีตรา Made in Japan ให้มีตัวเล็กที่สุด ( แต่ SONY ขายของมีคุณภาพดี ) เพื่อไม่ให้ลูกค้าปฏิเสธก่อนที่จะได้ใช้สินค้า แน่นอนว่าเมื่อผลิตสินค้าที่ไม่เคยมีมาก่อน คนอื่นจะเห็นว่าเราเป็นหนูทดลอง โดยดูว่าเราขายได้หรือไม่ถ้าขายได้ดีเขาจะเข้ามาแข่งทันที ดังนั้นเมื่อเราพัฒนาสินค้าได้แล้วเราจะรีบออกสินค้าเพื่อเป็นเจ้าตลาดในช่วงแรก โดยเราจะทำเงินได้มากมาย ( SONY ใช้งบวิจัยพัฒนา 6 –10 % จากยอดขาย ) เมื่อคนอื่นมาทำตามเราก็จะรีบพัฒนามันต่อไปทันทีเพื่อให้เราใหม่เสมอ
สิ่งประดิษฐ์สิ่งหนึ่งที่ได้รับความนิยมสูงมากชิ้นหนึ่งคือ วอร์คแมน เกิดจากการที่เขาได้พัฒนาการฟังดนตรีเพื่อเป็นส่วนตัวแม้ในยามที่เดินทางอยู่บนท้องถนน หรือในท้องถนนจะมีคนแบกสเตอริโอบนบ่าแล้วฟังดนตรีเสียงดังรบกวนคนอื่น ดังนั้นเขาจึงพัฒนาโดยการนำเอาเครื่องเล่นเทปคาสเซ็ตต์ขนาดเล็กมาพัฒนาโดยเริ่มแรกด้วยการนำเอาวงจรบันทึกออกทำให้เครื่องเล็กลง แล้วกำหนดราคาขายให้หนุ่มสาวสามารถซื้อได้ การใช้หูฟังแบบคู่ แบตเตอรี่ขนาดเล็กและมีน้ำหนักเบา แม้ว่าจะต้องสู้กับฝ่ายบัญชีและคำเยาะเย้ยของคนอื่น ในไม่ช้ามันก็ได้พิสูจน์แล้วว่ามันดีขนาดไหน ด้วยคำสั่งซื้อที่ผลิตไม่ทันตามต้องการ อย่างไรก็ตามแม้ว่ามันจะขายดีอยู่แล้ว แต่เพื่อรักษาตลาดไว้ให้ใหม่เสมอ เขาจึงได้พัฒนาวอร์คแมนให้มีรูปแบบที่ต่าง ๆ กัน กล่าวกันว่าวอร์คแมนที่สามารถขายได้จนถึงปัจจุบันนี้ ( 1988 ) มีถึง 20 ล้านเครื่องเลยทีเดียว เมื่อขายได้มากขึ้นเขาก็เริ่มสร้างเครือข่ายในการจำหน่ายเพิ่มขึ้นมาด้วย ทั้งการขายผ่านทางตรงและทางตัวแทนจำหน่าย แต่อย่างไรก็ดีต้องขายใน Brand ของ SONY เท่านั้น
การดูความสามารถในการผลิตกับ Order ที่ได้นั้นเป็นสิ่งจำเป็นเนื่องจากถ้าเราขยายโรงงานมากขึ้นเพื่อรับ Order ที่เกิดขึ้นนั้นถือว่าเสี่ยงอย่างยิ่งรวมถึงการทำธุรกิจในต่างแดนนั้นก็เช่นเดียวกัน การที่จะทำธุรกิจในต่างประเทศนั้นเราต้องรู้ถึงสภาพความเป็นอยู่ของถิ่นนั้นรวมไปถึงวิถีทางการใช้ชีวิตของเขาด้วย ดังนั้นโมริตะจึงเดินทางไปอเมริกาโดยกำหนดค่าใช้จ่ายอย่างประหยัด การที่ได้เพื่อนที่เปรียบเสมือนครูของเขาคือ อดอล์ฟ กรอสส์ ทำให้เขาเรียนรู้ความเป็นอยู่ของอเมริกาได้ดีขึ้นมาก การที่ตัวแทนจำหน่ายในอเมริกามีการตุกติกทางด้านกฎหมาย การจะขายสินค้าโดยยึดถือราคาเป็นหลักโดยยอมให้ลดคุณภาพของสินค้าโดยผู้จัดจำหน่ายของ SONY ในอเมริกาเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ และลงเอยด้วยการเลิกสัญญา และจัดตั้ง โซนี่คอร์ปอเรชั่นแห่งอเมริกาในปี 1960 ซึ่งแม้ว่าจะติดปัญหาในด้านการแปลเอกสารเป็นภาษอังกฤษ การยินยอมจากกระทรวงการคลังญี่ปุ่น รวมไปถึงการ SET ราคาหุ้นที่จะขายในอเมริกา แต่ก็สามารถผ่านมันมาได้ ในปีนี้นอกจากการจัดตั้ง SONY อเมริกาแล้วเขายังเปิดโชว์รูมในนิวยอร์กอีกด้วย เพื่อที่จะเก็บเอาความคิดและวัฒนธรรมแบบอเมริกัน เขาจึงย้ายครอบครัวซึ่งมีภรรยาและลูกอีก 3 คนมาอยู่อเมริกาด้วย แต่สองปีต่อมาพ่อของโมริตะเสียชีวิตและเขาต้องเป็นหัวหน้าครอบครัว ดังนั้นเขาจึงย้ายกลับโตเกียว
การพัฒนานอกจากด้านเครื่องเล่นเทปที่โด่งดังแล้ว เครื่องเล่นวีดีโอ ยู-เมติกก็เป็นสินค้าอีกชนิดหนึ่งที่ขายดี โดยที่ฟอร์ดได้ซื้อเครื่องนี้เพื่อไปใช้ในการ Train ช่างและพนักงานขายของเขา ซึ่งการเข้ามาของฟิล์มสิบหกมิลลิเมตรของสถานีโทรทัศน์อย่างรวดเร็ว และแน่นอนเขาก็พัฒนามันอีก จากการใช้สำหรับธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดอันเทอะทะของมันเขาจึงพัฒนาม้วนเทปให้มีขนาดเล็กลง และก่อให้เกิดเครื่องเล่นวีดีโอเบต้าแมกซ์ที่สามารถใช้ตามบ้านได้ขึ้นมา ซึ่งเมื่อเขาคิดค้นได้เขาได้ทำการออกตลาดโดย Promote สินค้าตัวใหม่อย่างยิ่งใหญ่แม้การสำรวจตลาดจะไม่ได้ผลเท่าที่ควรก็ตาม แต่ในความคิดของโมริตะเขาอาจจะมี Six sense ที่มั่นใจว่าจะขายออก แม้ว่าเมื่อพูดตามเหตุผลแล้วมันไม่น่าจะขายได้ดีขนาดนี้
การพัฒนาด้านโทรทัศน์สีก็เช่นเดียวกัน เขาได้ซื้อลิขสิทธิ์หลอดภาพโครมาตรอนแต่อย่างไรก็ดี มันไม่ Work และบริษัทได้ยกเลิกไปและมาพัฒนาด้านไตรนิตรอนแทนโดยทำให้ภาพคมชัดขึ้น 30 % และในปี 1964 เขาก็เปิดโรงงานโทรทัศน์ขึ้นมาอีกเพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นทั้งในและนอกประเทศ
การเปิดตัวโชว์รูมเป็นตัวสำคัญที่จะทำให้ลูกค้าเห็นและรู้ถึงคุณภาพของเรา ดังนั้นโมริตะจึงพยายามเปิดโชว์รูมเพิ่มขึ้นนอกจากที่โตเกียวและนิวยอร์ก แน่นอนว่า SONY วางตัวเองเป็นสินค้าคุณภาพดี ดังนั้นโชว์รูมที่ต้องการจะตั้งทั่วโลกนั้นต้องเป็นจุดที่คนมากและกำลังซื้อสูง และในที่สุดเขาก็เปิดโชว์รูมอีกแห่งที่ ฌอง อาลิเซ่ส์ ใจกลางกรุงปารีส และตั้งโซนี่โพ้นทะเลที่สวิตเซอร์แลนด์อีกด้วย หลังจากนั้นอีกไม่กี่ปี ด้วยคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นเขาจึงคิดที่จะตั้งโรงงานในอเมริกา แต่จะเป็นสิ่งที่ผิดที่จะเปิดโรงงานนอกประเทศโดนที่ยังไม่มีระบบการขายและการตลาดที่นั่นก่อน ดังนั้นเขาจึงได้ดูลาดเลาและตรวจสอบ Supplier ที่ต้องการและขนาดตลาดที่เพียงพอต่อการผลิต และในปี 1971 จากการจ่ายค่าขนส่งที่แพงและความยืดหยุ่นต่อความต้องการในอเมริกา ดังนั้น SONY จึงเปิดโรงงานขึ้นในปีนี้เอง
และแน่นอนคุณจะทำงานไม่ได้ดีหากคุณไม่มีลูกจ้างที่ดี นักบริหารญี่ปุ่นจะเน้นความสัมพันธ์ระหว่างเจ้านายกับลูกจ้าง โดยที่เขาจะพยายามเจอพนักงานใหม่ทุกคน ซึ่งเขาจะสอนให้รู้ถึงความรับผิดชอบในการทำงานและโอกาสที่จะได้รับ และจากการโดนยึดครองจากกลุ่มสัมพันธมิตรและคลอดกฎหมายแรงงานใหม่ออกมา ทำให้คนรวยต้องเสียภาษีมาก รวมไปถึงภาษีมรดกที่มหาศาลด้วย ( จนมีคนพูดกันว่า มรดกความมั่งคั่งจะโดนภาษีกินหมดใน 3 ชั่วอายุคน ) ทำให้ความเหลื่อมล้ำในด้านรายได้ไม่ต่างกันมากนัก ทำให้ไม่ค่อยมีปัญหาด้านแรงงานในญี่ปุ่นมากนัก อย่างไรก็ตาม SONY จะดูแลพนักงานอย่างดีและการจูงใจไม่ใช่แค่เงืนอย่างเดียวเหมือนในอเมริกา ซึ่งทาง SONY จะถือว่าพนักงานก็คือคนในครอบครัว ดังนั้นการหยุดงานหรือการ Strike นั้นจึงแทบไม่ได้เห็นเลย ถ้าลูกน้องเบื่อต่อการทำงานเดิมหรือต้องการความท้าทายใหม่ ๆ ทาง SONY ก็จะทำการจัดหาให้โดยการติดป้ายประกาศภายในทำให้เขาสามารถทุ่มเทกับงานใหม่ได้อย่างเต็มที่แทนที่จะอึดอัดกับงานเก่า แน่นอนว่าความคิดความอ่านหรือข้อเสนอแนะของพนักงานซึ่งเปรียบเสมือนครอบครัว จะได้รับฟังโดยปล่อยให้เขามีความคิดเป็นอิสระออกความคิดเห็น รวมถึงการเปิดโอกาสให้เขาได้ใช้ฝีมือด้วย ต่างกับในอเมริกาที่ฝ่ายบริหารคิดว่าตัวเองเก่งที่สุด ซึ่งส่งผลให้เทคนิคการจัดการในญี่ปุ่นแลอเมริกาต่างการโดยสิ้นเชิงคือ ญี่ปุ่นจะพยายามหาสิ่งที่ผิดพลาดเมื่อพนักงานทำผิดแต่อเมริกันกลับเลือกที่จะไล่ออกเพราะไม่ทำตามคำสั่ง มันมีผลถึงจิตใจพนักงานที่ไม่ดีและการเปลี่ยนงานบ่อยในอเมริกา ดังนั้นเมื่อโมริตะได้เข้าไปเป็นผู้บริหารในโซนี่อเมริกา เขาก็ได้พยายามใช้เทคนิคพนักงานคือครอบครัวไปใช้แทนระบบทั่วไปที่อเมริกาใช้อยู่ผลก็คือ คนงานยอมรับแม้จะค่อนข้างติดขัดในช่วงแรก การลาออกน้อยและขวัญกำลังใจในการทำงานดีขึ้น ซึ่งพนักงานในบริษัทส่วนใหญ่เป็นวิศวกรที่คอยนำเอาเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งเขาได้เคยกล่าวกับคนยุโรปที่กล่าวไว้ว่า “ เทคโนโลยีใหม่ ๆ คิดค้นในยุโรป “ โมริตะได้ยินเช่นนั้นจึงกล่าวกลับว่า “ เทคโนโลยีใหม่ถ้าไม่ได้นำเอาไปใช้ประโยชน์ในการประดิษฐ์เพื่อทำเป็นอุตสาหกรรมแล้ว จะมีประโยชน์น้อยกว่าการปรับปรุงจากความคิดมาเป็นอุตสาหกรรมเสียอีก “ แน่นอนว่าการที่เราจะทำการวิจัยหรือพัฒนางานสักชิ้นเราต้องกำหนดเป้าหมายและเวลาที่ทำอย่างชัดเจน ไม่เช่นนั้นจะเป็นการเปลืองเวลาและทรัพยากร
แน่นอนความแตกต่างในด้านวัฒนธรรมและการทำงานของญี่ปุ่นและอเมริกันที่ต่างกัน สร้างปัญหาให้แก่โซนี่อเมริกาพอสมควร ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดอันแรกคือการฟ้องร้องที่เกิดบ่อยจนแทบได้ว่าเป็นเรื่องปกติในอเมริกาไปเสียแล้ว แต่ในญี่ปุ่นการฟ้องร้องถ้าไม่จำเป็นจะไม่ทำกัน เนื่องจากจะให้เกียรติซึ่งกันและกัน โซนี่จะต้องเสียเงินจำนวนมหาศาลเพื่อจ้างทนายคอยปกป้องการฟ้องร้องที่เกิดเป็นประจำต่อบริษัท แม้ว่ามันจะเห็นได้ชัดว่าเขาถูกก็ตาม ดังนั้นใน อเมริกาจะไม่มีระบบไว้เนื้อเชื่อใจกันเลยแม้กระทั่งพนักงงานจากบริษัทหนึ่งเมื่อลาออกไปอยู่บริษัทคู่แข่งแล้วจะนำความลับติดตัวไปบอกบริษัทใหม่ด้วย การจะทำสัญญาหรืออะไรก็แล้วแต่จะมีการเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรเสมอเพื่อเอาไว้ใช้ยืนยันในชั้นศาล ซึ่งสาเหตุการฟ้องส่วนใหญ่มักจะเป็นในทำนองที่สินค้าญี่ปุ่นสามารถขายได้ในราคาที่ถูกกว่าที่ระดับคุณภาพเดียวกัน ดังนั้นคนอเมริกันจึงซื้อสินค้าญี่ปุ่น บริษัทในอเมริกาที่ขายไม่ออกและธุรกิจล้มลงก็กล่าวหาว่า SONY จะต้องรับผิดชอบในการทำให้เขาและพนักงานต้องตกงาน ดังนั้นในเวลาต่อมาเขาเริ่มลด Pressure ในด้านนี้โดยการเพิ่มวัตถุดิบและแรงงานที่ใช้ในอเมริกามากขึ้นและเป็นตัวแทนนำสินค้าอเมริกาเข้าไปขายในญี่ปุ่นอีกด้วย
อย่างที่กล่าวมาแล้วว่าในอเมริกาเขาจะแบ่งชนชั้นในด้านการบริหารและคนงาน คนงานคนหนึ่งจะถูกฝึกให้ทำงานอย่างเดียวเพื่อให้ชำนาญโดยไม่คิดถึงความเบื่อหน่ายของพนักงาน เมื่อโมริตะได้เข้าไปจัดการเขาก็เปลี่ยนระบบความคิดให้เป็นแบบญี่ปุ่นมากขึ้น การเอาใจใส่ไปพบพนักงานและกินข้าวร่วมกัน ทำให้ความเหลื่อมล้ำน้อยลง รวมไปถึงการยอมให้พนักงานมีการย้ายงานข้ามแผนกได้หากสนใจ การฝึกฝนของ SONY พนักงานฝ่ายผลิตต้องเป็นพนักงานขายก่อน 1 เดือนและในทำนองเดียวกัน พนักงานฝ่ายขายต้องอยู่ในโรงงานก่อน 1 เดือน เพื่อให้รู้ความสัมพันธ์ระหว่างการขายและการผลิต การไม่แบ่งชนชั้นนี้ส่งผลไปถึงห้องทำงานใน Office ด้วยคือจะไม่มีห้องส่วนตัวของผู้บริหารแต่จะเป็นการนั่งรวมกัน จะมีก็เพียงฉากกั้นเท่านั้น รวมไปถึงค่าจ้างที่ไม่ต่างกันมากนักสำหรับผู้บริหารและพนักงาน ดังนั้นเพื่อเป็นการปกป้องครอบครัวของตน SONY จึงเน้นการเติบโตอยู่ที่การเติบโตระยะยาวอย่างมั่นคงแทนที่จะเน้นกำไรมาก ๆ เพื่อผลประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นอย่างในอเมริกา การที่ผู้บริหารจะตัดสินใจในสิ่งนั้น ควรจะต้องพอมีความรู้ในธุรกิจนั้นพอสมควรด้วย แม้ว่ามันอาจจะไม่ขึ้นกับหลักการและเหตุผล แต่ในที่สุดจากการที่เขารู้ตัวเองและผู้อื่น มักจะทำให้ผลลัพธ์สุดท้ายถูกต้อง แนวทางการดำเนินงานของบริษัทจะต้องดำเนินต่อไปแม้ว่าจะเปลี่ยนผู้บริหารก็ตาม เป็นความคิดที่ทำให้พนักงานทั้งหมดเดินไปในทางเดียวกันได้ ผิดกับที่อเมริกาที่ผู้บริหารมักจะมีการล้างบางตลอดเมื่อมีการเปลี่ยนผู้บริหารระดับสูง
การที่ญี่ปุ่นสามารถแข่งขันได้ในทุกประเทศทั่วโลกเนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรงภายในประเทศนั่นเอง แน่นอนว่าการแข่งขันในประทศญี่ปุ่นเป็นไปด้วยความรุนแรงไม่ว่าด้านใดก็ตาม ทั้งการศึกษา การทำงาน หรือธุรกิจ การแข่งขันนี้อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตในประเทศแต่เมื่อมองอีกนัยหนึ่งแล้วพบว่า การแข่งขันที่รุนแรงนี้เองกลับเป็นแรงผลักดันที่ทำให้ธุรกิจของญี่ปุ่นสามารถแข่งขันได้กับทุกประเทศ แต่ธุรกิจที่กำลังจะ DOWN จะได้รับการช่วยเหลือจากรัฐในการให้ถอนตัวจากธุรกิจหรือปรับตัวไปสู่ธุรกิจใหม่ที่สดใสกว่า อย่างไรก็ตามสำหรับธุรกิจที่ต่างประเทศทำได้ดีกว่า รัฐจะไม่สนับสนุน ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์และเอาใจใส่ของรัฐบาลต่อบริษัทเอกชน
การลงทุนซื้อเครื่องจักรหรือเทคโนโลยีที่ต้องการนั้น เราต้องแน่ใจก่อนว่าจะเข้ากับบริษัทเราและมีบุคลากรที่สามารถรองรับเทคโนโลยีเหล่านั้นได้ รวมไปถึงต้องพัฒนาสิ่งนั้นให้ดีและใช้งานได้รวมไปถึงการปรับปรุงแบบใหม่ ๆ ให้ออกมาเสมอ ๆ ตัวอย่างในจีนที่ลงทุนกว้านซื้อเทคโนโลยีและเครื่องมือจากทั่วโลกมาแทนแรงงานคน ทั้ง ๆ ที่จีนมีประชากรมากอยู่แล้ว และไม่มี Skill เพียงพอที่จะใช้มัน ทำให้ประสิทธิภาพในการใช้เครื่องจักรต่ำและของออกมาคุณภาพไม่ดี ( แต่ปัจจุบันกำลังดีขึ้น ) ดังนั้นการแข่งขันในตลาดโลก เราต้องมองถึงว่าคุณภาพที่สามารถทำได้ถึงระดับโลกนั้นเป็นเช่นไร แล้วปรับตัวเข้าหามันโดยมีการแข่งขันเป็นเชื้อเพลิงขับดันไปให้ถึงจุดนั้น ซึ่งการแข่งขันนี้ในญี่ปุ่นมีมาอย่างช้านานแล้วเพื่อความอยู่รอด เนื่องจากแทบไม่มีทรัพยากรในประเทศเลยต้องนำเข้าเทคโนโลยีและวัตุดิบจากต่างประเทศเสมอ การประหยัดและการ Recycle เป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่นเดียวกันสำหรับ SONY การอยู่รอดเป็นสิ่งจำเป็น การลดการใช้เชื้อเพลิง การปรับปรุงการผลิต การทำของคุณภาพดีจากความรับผิดชอบของพนักงาน รวมไปถึงการกระหายและต้องการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ และเลือกที่จะใช้การประยุกต์มากกว่าการคิดค้นวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ ทำให้ SONY สามารถอยู่รอดได้แม้ในภาวะวิกฤต การปรับปรุงนี้ส่งผลไปถึงการอบรมซึ่งญี่ปุ่นเน้นทางด้านนี้มาก เพราะพนักงานเป็นปัจจัยหลักสำหรับการปรับปรุงให้สินค้ามีความทันสมัยเสมอเพื่อเป็นเจ้าตลาด โดยการนำเทคโนโลยีที่ดีและมีอนาคตมาปรับปรุงร่วมกันโดยยอมเสียค่า R&D ในสิ่งที่ไม่ Work ดีกว่าที่จะดั้นด้นผลิตมันออกมาแล้วเสียหายภายหลัง ซึ่งการวิจัยนี้ในช่วงหลังมักจะเป็นการประชุมหรือวิจัยร่วมกัน แล้วต่างคนต่างนำไปผลิตเป็นสินค้าของตัวเอง
แน่นอนว่าเมื่อคุณจะทำธุรกิจระดับสากลแล้ว คุณจำเป็นต้องยอมรับความคิดที่เป็นสากลด้วย การที่เราจะทำงานร่วมกับคนอเมริกาหรือยุโรปที่เขาคิดว่าเขาเก่งที่สุดในโลกนั้น เราต้องปรับตัวให้ทันทั้งการปรับตัวด้านวัฒนธรรมที่ต้องออกความเห็นบ่อย ๆ การรับฟังความคิดคนอื่น การปรับปรุงการใช้ภาษาอังกฤษ รวมไปถึงการเตรียมทนายความเมื่อมีการฟ้องร้องเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำทั้งสิ้น การที่ต้องยอมอ่อนต่อประเทศคู่ค้าและรับสินค้ามาขายบ้างเป็นเรื่องที่จำเป็น และแน่นอนความสัมพันธ์บางอย่างเพื่อความสำเร็จต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลทั้ง 2 ประเทศด้วยเพราะการติดปัญหาด้านกฎหมายนั้นเป็นสิ่งสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ ซึ่งส่งผลให้เราต้องปรับตัวเอง ที่จะส่งออกอย่างเดียวซึ่งทำให้ประเทศคู่ค้าต้องเสียดุล เราต้องไปลงทุนหรือใช้วัตถุดิบในประเทศนั้นหรือรับของเขามาขายเป็นการตอบแทนบ้างแม้ว่าจะเป็นการเพิ่มรายจ่ายโดยไม่จำเป็นให้แก่เราเพื่อผลประโยชน์ระยะยาวของบริษัท และการลงทุนในประเทศโลกที่ 3 ของ SONY เพื่อเป็นการยกระดับธุรกิจเขาซึ่งอาจเป็นลูกค้าหลักในอนาคตก็ได้
ใช่ว่าเมื่อคุณทำธุรกิจได้ดีแล้วจะประสบความสำเร็จเสมอไป ปัจจัยบางอย่างที่ควบคุมไม่ได้เช่นอัตราแลกเปลี่ยน สามารถทำให้บริษัทรุ่งหรือร่วงได้ในพริบตา เนื่องจากสมัยนี้มีการค้าเงินกันมากขึ้นทำให้การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนต่อวันสามารถเปลี่ยนแปลงได้มากถึง 15 % ต่อวันเลยทีเดียว รวมไปถึงกำแพงภาษีที่ไม่สามารถควบคุมได้ ผู้บริหารควรมองจุดนี้เผื่อไว้ด้วย และแน่นอนว่าการทำธุรกิจในโลกนั้นเราต้องพูดมากขึ้นและปิดกั้นตัวเองให้น้อยลง นอกจากนี้ยังควรดูปัจจัยอื่นที่ส่งผลกระทบต่อเราด้วยโดยเฉพาะของคู่แข่ง โดยเราต้องมองไปในอนาคตว่าอีก
10 – 20 ปีข้างหน้าผู้บริโภคต้องการอะไร และแน่นอนเราจะผลิตเท่าที่เราขายได้เท่านั้น
ความสำเร็จของโมริตะและ SONY นั้นเป็นการบอกถึงความพยายามที่บริษัทหนึ่งที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความหวังและความพยายามที่จะเปลี่ยนภาพลักษณ์ของสินค้าที่โดนดูถูกว่าห่วยในสายตาของคนภายนอก มาเป็นสินค้าที่ดีในสายตาของคน ๆ นั้น โดยการปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีที่ทันสมัยและนำมันมาประยุกต์ใช้ในงานอุตสาหกรรม รวมไปถึงการเข้าใจถึงระบบการทำงานที่เป็นสากลเพื่อการขยายตัวสู่ตลาดโลก เพื่อให้มั่นใจได้ว่าของที่ดีคือของที่ “ Made in Japan “
ขอบคุณบทความจากคุณก้องเกียรติครับ
Like this: Like Loading...