มันจะลงเอ่ยเช่นไรเมื่อสาวๆ Girls Generation ปวด “ขี้” ไปชมกันดีกว่า…
Listen ข้อย
My อุนจิ ข้อย Story
อุโวโอ อุโวโอ เย้~~
My Uncle
And อาโก !!
My ขึ้นช่าย !!
Let’s Go
เนื้อเพลง gee เพลงgee ฟังเพลง gee เพลง gee
อัจฉริยะประกอบด้วยความพยายาม 99% กับพรสวรรค์ 1%
มันจะลงเอ่ยเช่นไรเมื่อสาวๆ Girls Generation ปวด “ขี้” ไปชมกันดีกว่า…
Listen ข้อย
My อุนจิ ข้อย Story
อุโวโอ อุโวโอ เย้~~
My Uncle
And อาโก !!
My ขึ้นช่าย !!
Let’s Go
เนื้อเพลง gee เพลงgee ฟังเพลง gee เพลง gee
โมริตะกับอิบูกะตัดสินใจจะเปลี่ยนวิธีการทำธุรกิจ แทนที่จะขายของให้รัฐบาล ชะตากรรมบริษัทผูกกับฝ่ายจัดซื้อเท่านั้น ทั้งสองตัดสินใจทำธุรกิจที่ขายผลิตภัณฑ์ให้มวลชน
ผลิตภัณฑ์แรกของโซนี่ หลังจากตัดสินใจเข้าสู่ Consumer Market ก็คือเครื่องบันทึกเทป
ก่อนหน้านั้นทั้งคู่วาดฝันไว้สวยหรู ว่าจะทำเงินมหาศาล จึงใช้เงินและบุคคลากรจำนวนมากเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนให้โดดเด่น อย่างไรก็ตามหลังจากเครื่องบันทึกเทปออกสู่ตลาด ผลปรากกฏว่าฝันสลายอย่างสิ้นเชิง เพราะผู้บริโภคไม่ซื้อ ด้วยเหตุผลที่ว่า “ น่าสนใจ แต่แพงเกินไปสำหรับของเล่นชิ้นหนึ่ง” แล้วจะขายของยังไงดี ไม่ต้องบอกก็คงเห็นภาพโมริตะนอนก่ายหน้าผาก
อยู่มาวันหนึ่ง โมริตะเดินอยู่แถวๆบ้าน และหยุดอยู่หน้าร้านขายโบราณวัตถุ เขาไม่ได้สนใจวัตถุโบราณหรอก แต่จ้องเขม็งไปที่บทความที่ติดไว้บนกระจกหน้าร้าน หลังจากนั้นโมริตะ ก็เดินจากไปโดยไม่สนใจ แต่ทว่ามีชายหนุ่มคนหนึ่งเดินสวนเข้าไปในร้าน และถามพนักงานขายหลายคำ จากนั้นหนุ่มคนนี้ก็ควักกระเป๋าจ่ายเงินจำนวนมากซื้อวัตถุโบราณชิ้นที่โมริ ตะไม่ได้สนใจนั่นแหละ
หนุ่มเหน้ารายนี้เดินจากไปอย่างมีความสนุก “ผมคิดว่าเครื่องบันทึกเทปโซนี่ มีคุณค่ามากกว่า แต่เจ้าหนุ่มผู้นั้นกลับจ่ายเงินซื้อวัตถุโบราณที่แพงกว่าเครื่องเล่นเทปของ ผมตั้งหลายเท่า” โมริตะประหลาดใจและพิศวงงงวยกับพฤติกรรมของเจ้าหนุ่มคนนี้มาก “เขาสอนการขายพื้นฐานให้ผม”
นั่นคือไม่มีทางขายสินค้าได้ ถ้าลูกค้าไม่ซาบซึ้งในคุณค่าของสินค้านั้น “ไม่มีทางที่ผมจะซื้อวัตถุโบราณนั้นในราคาสูงปานนั้น เพราะผมไม่สนใจโบราณวัตถุ ทว่าคนอื่นที่ซาบซึ่งคุณค่าวัตถุโบราณ ก็พร้อมจะจ่ายเงิน” ในสายตาของโมริตะและอิบูกะ เครื่องบันทึกเทปมีคุณค่ามหาศาล พวกเขาคิดว่าราคาขายที่ตั้งนั้นถูกเกินไปเสียด้วยซ้ำ แต่ผู้บริโภคกลับคิดว่ามันเป็นแค่ของเล่นที่น่าสนใจเท่านั้น บ๊ะ!!! ไหงเป็นงั้น
แปลว่าถ้าผู้บริโภคไม่คิดว่าเครื่องบันทึกเทปมีคุณค่า ก็จะไม่ซื้อ โมริตะเกิดการรู้แจ้งเห็นจริงขึ้นมาฉับพลัน เขาต้องสอนให้ผู้บริโภครู้ว่าเครื่องบันทึกเทปนั้นทำอะไรได้ตั้งหลายอย่างในชีวิตประจำวัน มันเป็นบทเรียนที่สอนให้ไม่เพียงแต่โซนี่เท่านั้น ทว่ายังสอนให้หลายๆบริษัทที่อยู่ในสถานการณ์เดียวกันด้วย นั่นคือบริษัทไม่เพียงแต่มีหน้าที่ผลิตสินค้าเท่านั้น หากยังต้องสอนให้กลุ่มเป้าหมายรู้จักใช้สินค้านั้นด้วย (Educate Prospective Customers) ไม่เช่นนั้นตลาดใหม่สำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ก็ไม่เกิด
กระนั้นก็ตาม โซนี่ในห้วงตั้งไข่ซึ่งมีเงินและเวลาจำกัด ไม่สามารถสอนผู้คนทั้งญี่ปุ่นได้ “เราตระหนักว่าการตลาด คือการเพิ่มจำนวนผู้สามารถสื่อคุณประโยชน์และคุณค่าของผลิตภัณฑ์ไปสู่ลูกค้า โดยใช้วิธีเดียวกับที่เราทำ” โมริตะเริ่มต้นสอนฝ่ายการตลาดของโซนี่ให้รู้ซึ้งถึงเป้าหมายนี้ จากนั้นส่งผ่านแนวความคิดนี้ไปสู่ขั้นตอนต่อไป ภายใต้กระบวนการนี้ สารที่ถูกต้อง(Accurate Message) จักต้องสื่อจากตัวโมริตะไปยังฝ่ายการตลาด จากนั้นส่งผ่านไปยังพนักงานขายในแต่ละภาค และส่งต่อไปยังเซลส์แมนของดีลเลอร์ ซึ่งก็หมายความว่างานการตลาดก็คืองานด้านการสื่อสารนั่นเอง!!!
ขอบคุณข้อมูลจาก thaicoon.wordpress.com
โซนี่(Sony)คือแบรนด์ที่มีชื่อเสียงที่สุดและแข็งแกร่งที่สุดของญี่ปุ่น
อากิโอะ โมริตะ คือผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทที่ได้รับการยกย่องมากจากโลกตะวันตกมากที่สุดในบรรดานักธุรกิจญี่ปุ่น ในปี 1998 จากการสำรวจของแฮริส โซนี่คือแบรนด์อันดับหนึ่งในใจอเมริกันชนเหนือกว่า Coke และ GE เสียอีก โซนี่คือตัวแทนแบรนด์ของชาวเอเชียในแง่แบรนด์ที่มีนวัตกรรมสูงที่สุด เพราะนวัตกรรมและความแตกต่างคือดีเอ็นเอของโซนี่
แม้ว่าในระยะหลังเส้นทางของโซนี่จะไม่ได้โรยด้วยกรีบกุหลาบ แต่ด้วยความแข็งแกร่งของแบรนด์โซนี่ ก็ทำให้โซนี่สามารถฟันฝ่าอุปสรรคและกลับมาสู่ลู่แห่งการแข่งขันได้อย่างสง่างาม
วิถีแห่งโซนี่คือวิถีแห่งชัยชนะ
การศึกษาวิถีแห่งโซนี่นั้น แยกไม่ออกจากการศึกษาอากิโอะ โมริตะ ผู้ร่วมก่อตั้งโซนี่ผู้โด่งดัง โมริตะเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวตะวันตกมากกว่าชาวญี่ปุ่นใดๆ บางคนบอกว่าคนคุ้นชื่อของเขามากกว่าชื่อนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นเสียอีก นิตยสารไทม์จัดให้เป็นหนึ่งในบุคคลแห่งศตวรรษ
โมริตะถูกจัดอยู่ในทำเนียบนักการตลาดอันดับต้นๆของโลก ซึ่งโชคดีเอามากๆที่เขามีเพื่อนคู่ใจผู้ร่วมก่อตั้งซึ่งเชี่ยวชาญด้าน วิศวกรรมที่ชื่ออิบูกะ ทั้งคู่จึงกลายเป็นคู่หูดูโอที่มีส่วนผสมลงตัวอย่างที่สุด
โมริตะจบฟิสิกส์ ไม่มีประสบการณ์ด้านการตลาดมาก่อน เขาก่อตั้งบริษัทโซนี่ ด้วยเงินน้อยกว่า 600 เหรียญ มีพนักงานไม่ถึง 20 คน ผลิตภัณฑ์ของเขาก็คืออุปกรณ์สื่อสาร ขายให้รัฐบาลซึ่งในสมัยนั้นอยู่ในช่วงฟื้นฟูประเทศ การขายของให้รัฐบาลนั้น ทำให้โซนี่จำต้องดีลกับฝ่ายจัดซื้อให้ซี้ย่ำปึ้ก อย่างไรก็ตามหากฝ่ายจัดซื้อเปลี่ยนคน เขาและอิบูกะ(ผู้ร่วมก่อตั้ง) ก็ย่ำแย่ไปด้วย เพราะต้องสานสัมพันธ์กันใหม่ ถ้าเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ บริษัทถูกกระทบเพราะการทำธุรกิจไม่มีความแน่นอน
โซยอชิเดถึงเมืองไทยแล้วเมื่อคืนวันที่ 7 เวลา 01.45 น. มีคนไทยไปตอนรับอยู่ประมาณ 50 คนได้ สำหรับการมาครั้งนี้เป็นครั้งแรกของวงนี้ที่ได้มาแสดงยังต่างประเทศ และการมาครั้งนี้ก็มาพร้อมกับ Concert อันยิ่งใหญ่ที่สนามราชมังกาละกีฬาสถาน (มั่วชื่อไปป่าวเนี้ย 55 ) ชื่อ YAMAHA Presents SMTOWN LIVE’08 IN BANGKOK ที่เลืื่อนแล้วเลื่อนอีกมาจบลงที่วันที่ 8 กุมภาพันธ์เดือนแห่งความรักนี้เอง ไปดูคลิปที่มีคนแอบถ่ายไว้ดีกว่า
credit:ebc//soshifanclub
ตามมาอีกมีรูปด้วย (คลิกดูกันเอานะเพราะใส่รูปแล้วมันใหญ่อะ)
http://upload.bluegy.com/uploads/4dd9df67a13fd01b840f688c0f2fbd34.jpg
http://upload.bluegy.com/uploads/1f2b5f7d7d0062a9c8f9a6399b1cfd18.jpg
http://upload.bluegy.com/uploads/1c4866b2e6e40641be2fb6528c680491.jpg
http://upload.bluegy.com/uploads/29f91877bebafcdee4b682abce3061a3.jpg
http://upload.bluegy.com/uploads/47fccf4d52cefc2e7d54868c099718a7.jpg
credit:ebc +ซุมพี +oTiffanY GirlZo+soshifanclub
siamzone.com
ฮ่าๆ วงนี้ชอบมากที่สุด เพราะเป็นวงแรกที่ชอบแล้วก็เลยไปทำเว็บแอบเนี้ยนเป็นแฟนคลับอยู่ช่วงหนึ่งหลังจากนั้นก็ให้แฟนคลับตัวจริงมารับช่วงต่อไปแทน
– สัมมนาครั้งนี้เก็บเงินเท่าไร ?
400 บาท หรือ 200 บาท ? ขอตอบตรงนี้ว่า . . ฟรี!!
– ฟรีแล้วมีอะไรเลี้ยงไหม ?
สำหรับ งานนี้ทางเราไม่มีอะไรเลี้ยงครับ ทั้งอาหารว่าง และ อาหารกลางวันครับ ซึ่งท่านต้องหากินเองครับ ตรงนี้คงจะไม่มีปัญหาเท่าไรเพรา ตึก 70 ปีมี อาหารว่าง,กาแฟ ขายอยู่ที่ชั้นล่างสุดครับ ส่วนร้านอาหารก็มีอยู่หลายที่กระจายอยู่เต็มมหาวิทยาลัย แน่นอนใกล้ๆ ตึก 70 ปีก็มีร้านอาหารเหมือนกัน หรือท่านจะไปหากินที่โรงอาหารของมหาวิทยาลัยก็ได้
– สัมมนาครั้งนี้รับคนเข้าีร่วมสัมมนาเท่าไร ?
สัมมนาครั้งนี้ทางเราจะรับคนเข้าร่วมสัมมนาเพียง 200 คนเท่านั้น!! เพราะห้องสัมมนาสามารถจุคนได้มากที่สุดเพียง 200 คน
– หนูมือใหม่ค่า… จะฟังรู้เรื่องไหมค่ะ ?
หัว ข้อที่คุณหนูทั้งหลายจะได้ฟังในวันสัมมนานั้นจะมีทั้งเรื่องที่เป็นพื้นฐาน และเรื่องที่เป็นความรู้ขั้นสูงครับ โดยหัวข้อเรื่องจะมีการพูดเรื่อง Model internet Marketing , Affiliate Marketing , SEO (Search Engine Optimization)
– จัดสัมมนาที่ใด ?
สัมมนาครั้งนี้จัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 70 ปี (ตึก 70 ปี) ห้อง 201/2
Charice Pempengco สาวน้อยมหัศจรรย์ คนนี้มีชื่อเต็มๆว่า Charmaine ClariceRelucio Pempengco เกิดเมื่อวันที่ 10 เดือนพฤษาคม ปี 1992 เกิดที่ เกิดที่ Cabuyao, LagunaLaguna ประเทศฟิลิปปินส์ (Philippines) สไลด์เพลงที่ชอบคือ Pop/R&B/Soul เว็บไซต์ส่วนตัวคือเว็บ www.charicepempengco.com
เธอเริ่มเข้าสู่เวทีประกวดร้องเพลงต่างๆตั้งแต่อายุ 7 ขวบ โดยแม่ของเธอเป็นผู้สอนการร้องเพลงให้ตั้งแต่อายุ 4 ขวบ แต่เริ่มเป็นที่รู้จักกันก็ตอนประกวดในรายการ Little Big Star ในฟิลลิปปินส์ ตอนนั้นเธออายุ 13 ก็เข้าร่วมรายการ Little Big Star รายการ Reality คล้ายๆ American Idol ในฟิลิปปินส์ แต่น่าเสียดายตกรอบไปตั้งแต่รอบแรกๆ แต่ตอนหลังก็โดนโหวตกลับเข้ามาอีกครั้ง และคว้าตำแหน่งอันดับ 3 ไปครองน่าแปลกที่เธอไม่เคยได้ออกทีวีในรายการใดๆเลย จนกระทั่งมีมือดีรายหนึ่ง ส่ง VDO Clip ของเธอไปลงที่เว็บไซต์ youtube ผู้คนหลายล้านคนที่ได้ดูคลิปนี้ต่างก็ทึ่งในน้ำเสียงอันทรง พลังของเธอ บางคนไม่เชื่อด้วยซ้ำ ว่าเธอร้องเองจริงๆ
หลังจากนั้น 2 ปี ในปี 2007 ก็มีแฟนเพลงที่ชื่นชอบเธอ นำ clip ของเธอไปโพสใน youtube หลาย clip ซึ่งทุก clip ก็ได้รับคำชมจากผู้ที่ click เข้ามาชม และเริ่มบอกปากต่อปาก จนเธอโด่งดังอย่างมาก โดยเฉพาะ clip ที่เธอร้องเพลงหอนมหาโหด And I Am Telling You I’m Not Going ซึ่งตอนหลังถูกนำไปโพสใน UCC (เหมือน youtube ของเกาหลี) จน Star King รายการชื่อดังของเกาหลีได้เชิญเธอไปออกในรายการเพื่อร้องเพลงนี้ ซึ่งเธอก็ร้องและแสดงได้อย่างยอดเยี่ยมขนลุกมากๆ
VDO ที่แพร่หลายที่สุดใน internet เป็น VDO ตอนที่เธอไปออกรายการ Star King ในเกาหลีใต้ เมื่อปี 2007 (video ที่อยู่ด้านบน) หลังจากที่ clip นี้อาละวาดไปทั่ว internet เธอจึงได้รับเชิญไปออกรายการดังๆอีกหลายแห่งทั้งฝรั่งเศษ,อังกฤษ และอเมริกา รวมทั้งรายการ Show ในโรงแรม MGM ที่ Las Vegas
จากการออกรายการดังกล่าว ทำให้ Charice ดังเป็นพลุแตกข้ามไปถึงฝั่ง America จนกลายเป็นข่าวพาดหัวดังว่า “A Star Was Born”
วันที่ 12 พฤษภาคม 2008 Charice ก็ถูกเชิญไปออก The Oprah Winfrey Show รายการทอล์คโชว์ชั้นนำของ America โดยร้องเพลง “I Have Nothing” ของ Whitney Houston
หลังจากนั้น David Foster ซึ่งเป็น Producer ชื่อก้องของโลก ก็ได้เชิญ Charice ไปร้องใน concert tribute ของ David Foster ร่วมกับสารพัดศิลปินระดับโลก ตั้งแต่ Kenny G ไปจนถึง Michael BuBle !!!
จากนั้นอีกไม่นาน Celine Dion หนึ่งใน idol ของเธอ ให้ขึ้นร่วมร้องเพลง Because You Loved Me กับเธอที่คอนเสิร์ตใน Madison Square Garden การแสดงครั้งนี้ก็ได้รับคำชื่นชมอย่างมากอีกเช่นเคย ต่อมาเทปการแสดงนี้ก็ได้ถูกนำมาออกในรายการ The Oprah Winfrey Show อีกครั้งเมื่อวันศุกร์ที่แล้ว 19 กันยายน
ซึ่ง Charice ได้ร้องเพลง because you love me ให้กับแม่ของเธอ ซึ่งชมการแสดงอยู่ที่นั่นด้วย โดย ซีลิน เจ้าของเพลง ช่วยร้อง Duet (แต่เท่าที่ฟังดูแล้ว เหมือนจะเป็น Backup ที่ไลน์ประสานให้เสียมากกว่า)
จะเห็นได้ว่าแม้ Charice จะยังเป็นแค่เด็กสาวอายุ 16 แต่เธอได้รับเกียรติอย่างสูงทั้งจากนักร้องชื่อดัง Producer ชื่อดัง และรายการ Talk Show ชื่อดัง จะมีสักกี่คน ที่จะได้ออกรายการ The Oprah Winfrey Show ถึงสามครั้งสามคราในปีเดียว จะมีกี่คนที่นักร้องระดับเทพอย่าง Andrea Bocelli หรือ Celine Dion จะลงทุนขอให้ไปร่วมร้องเพลงคู่ด้วย จะมีกี่คนที่ Producer มือทองระดับ David Foster ถึงกับลงทุนเล่นเปียโนให้ด้วยเอง ต้องจับตาดูเธอผู้นี้เอาไว้ให้ดี Charice Pempengco ย้ำ! Charice Pempengco
ขอบคุณข้อมูลจาก คุณ adulvit เว็บ mangmoo.com
และคุณ ตองพี จาก buddhakun.com ครับ
วัยเด็ก
สภาพความเป็นอยู่
อากิโอะ โมริตะ เป็นลูกชายคนโตของเคียวซาเอมอนและชูโกะ โมริตะ ซึ่งอยู่ในครอบครัวที่ค่อนข้างมั่งคั่งในญี่ปุ่นมีพี่น้อง 3 คนเป็นผู้ชายทั้งหมด โดยทำธุรกิจเหล้าสาเกจนโด่งดังและเป็นที่ยอมรับที่สุด ความเป็นอยู่เป็นไปอย่างสะดวกสบายมีบ้านหลังใหญ่และมีหลายครอบครัวอาศัยในบ้านหลังนี้ การที่มั่งคั่งนี้เองจึงทำให้ความคิดความอ่านค่อนข้างที่จะเป็นตะวันตก มีญาติหลายคนไปเรียนในยุโรป และหลงใหลในอุปกรณ์ใหม่ ๆ ของยุโรปพอสมควร จนทำให้เด็กคนนี้มีความฝันที่จะสร้างเครื่องเล่นแผ่นเสียงไฟฟ้าและบันทึกเสียงของตัวเองใหได้
สำหรับการศึกษา เนื่องจากความสนใจในด้านคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี และชอบด้านการทดลองเป็นชีวิตจิตใจ ทำให้ผลการเรียนวิชาอื่น ๆ จึงออกมาแย่ สิ่งที่เขาพยายามทดลองคือสร้างเครื่องบันทึกเสียงแต่ก็ล้มเหลว ในที่สุดหลังจากที่จบมัธยมปลายเขาก็ได้เลือกเรียนต่อในสาขาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยโอซาก้าอิมพีเรียล แทนที่จะเลือกเศรษฐศาสตร์ตามที่พ่อของเขาต้องการ แต่อย่างไรก็ดีขณะที่เขาเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยนั้น ญี่ปุ่นได้เปิดสงครามมหาเอเชียบูรพารวมไปถึงการรบกับอเมริกาด้วย ผู้ชายที่มีอายุเกิน 18 ปีจะต้องถูกเกณฑ์ทหาร อย่างไรก็ตามเขาเลือกที่จะเข้าสมัครเป็นทหารช่างเพื่อทดลองเกี่ยวกับอาวุธชิ้นใหม่ให้กับกองทัพ น้องชายทั้งสองของเขาก็เช่นกันได้ถูกเกณฑ์ไปเป็นทหารเช่นเดียวกัน แต่เคราะห์ดีที่สงครามสิ้นสุดเสียก่อนที่พวกเขาจะออกรบ โดยช่วงที่มีสงครามนั้นทหารจะมีอำนาจเหนือการเมืองมาก ข่าวสารทั้งหมดจะผ่านทางข่าวทหารและปกปิดข่าวจริงเพื่อประโยชน์ในด้านยุทธศาสตร์ตลอดเวลา และจากการที่เข้าเป็นทหารวิจัยนี้เองทำให้เขาได้รู้จักกับ มาซารุ อิบูกะ ( ซึ่งเป็นคู่หูในการจัดตั้งบริษัท SONY ต่อมา ) ซึ่งเป็นลูกเจ้าของเครื่องมือวัดแห่งญี่ปุ่น หลังจากสู้รบอย่างยาวนานในที่สุดญี่ปุ่นก็ประกาศยอมแพ้สงครามเนื่องจากความย่อยยับของบ้านเมืองหลังจากการโจมตีของฝ่ายสัมพันธมิตร และการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ของอเมริกา
การมองถึงโอกาส
แน่นอนว่าเมื่อสิ้นสุดสงครามแล้ว โมริตะและพี่น้องของเขาได้กลับบ้าน แต่สภาพของบ้านเมืองในตอนนั้นแร้นแค้นมาก การขาดแคลนเครื่องมือแพทย์และการตกงานของประชาชนทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างดูหมดหวัง ในขณะที่เขากลับบ้านเขาก็ยังติดต่อกับอิบูกะอยู่เสมอ ๆ ซึ่งโรงงานเขาก็ถูกระเบิดทำลายจนต้องย้ายไปอยู่นอกเมืองเช่นเดียวกัน และจากการติดต่อกันจึงรู้ถึงว่าอิบูกะกำลังทำห้องทดลองในโตเกียวอยู่และต้องการให้โมริตะมาช่วยเพื่อร่วมกันก่อตั้งธุรกิจใหม่ขึ้นมา จากความรู้ ความสามารถและธุรกิจของอิบูกะที่ประสบความสำเร็จพอสมควร โดยเฉพาะ Project ใหม่ที่ท้าทาย ทำให้เขาตัดสินใจเดินทางมาโตเกียวเพื่อทำธุรกิจกับอิบูกะทันทีที่เขาส่งจดหมายเชิญ
ช่วงเริ่มต้นธุรกิจ
เมื่อโมริตะเดินทางมาถึงโตเกียวก็ทำงานสอนในมหาวิทยาลัยรวมถึงทำงานบริษัทไปด้วย โดยร่วมจัดตั้งบริษัทขึ้นมาในปี 1946 ชื่อ “ บริษัท วิศวกรรมโทรคมนาคมแห่งโตเกียว “ ซึ่งโมริตะได้เสี่ยงมากเนื่องจากเขาจะเป็นผู้สืบทอดกิจการของที่บ้านอยู่แล้ว แต่กลับมาโตเกียวตามลำพังเพื่อหาธุรกิจใหม่ อย่างไรก็ตามเนื่องจากเป็นบริษัทใหม่จึงต้องกลับไปยืมบริษัทพ่อเขาหลายครั้งโดยออกหุ้นให้แทน สถานที่ตั้งของบริษัทในช่วงแรกคือซากของห้างสรรพสินค้าที่ถูกระเบิดนั่นเอง และหลังจากสอนในมหาวิทยาลัยได้ไม่นานเขาก็ลาออกมา แน่นอน บริษัทของเขาต้องการทำในธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยเขาต้องทำหน้าที่ทุกอย่างทั้งส่งขึ้นรถ ขับรถหรือส่งเอกสาร เริ่มต้นได้เริ่มทำเครื่องบันทึกเสียงโดยใช้เส้นลวด แต่เนื่องจากไม่ทราบว่าโชคดีหรือร้าย บริษัทที่ทำเส้นลวดบางนี้ได้ไม่ยอมขายให้เนื่องจากเป็นบริษัทเล็ก และทำให้บริษัทของโมริตะไปพัฒนาในการใช้เทปแทน ซึ่งมีข้อดีกว่าการใช้ลวดบันทึกเสียงมากมายเพราะสามารถตัดต่อได้ ซึ่งเครื่องบันทึกเทปนั้นหัวใจอยู่ที่เทปซึ่งทั้งโมริตะและอิบุกะได้ทำการทดลองมาอย่างอดทนและในที่สุดก็สามารถเครื่องเล่นเทปได้
การที่คิดว่าเมื่อเราสามารถผลิตของดีได้แล้วจะทำให้เราสามารถขายได้มากเสมอ ความคิดนี้ผิดทันทีถ้าเราไม่สามารถแสดงให้เห็นได้ว่าสินค้าเรามีคุณค่าอย่างไร เมื่อเขาสามารถผลิตเครื่องเล่นเทปและเทปได้แต่คนส่วนใหญ่ไม่ซื้อ เนื่องจากมันเป็นของใหม่ที่คนทั่วไปไม่รู้จัก อาจเป็นเพราะว่ามันใหญ่และแพงเช่นนั้นหรือ ในที่สุดเขาก็พบว่าเนื่องจากคนไม่เห็นคุณค่ามันมากกว่า ดังนั้นเขาจึงไปสาธิตในที่ต่าง ๆ เช่น ศาล เพื่อใช้ในการบันทึกคำให้การแทนการจดชวเลขของเจ้าหน้าที่ การใช้ช่วยในการฝึกการออกเสียงภาษาอังกฤษ นอกจากนี้เขายังลดขนาดที่เทอะทะของมันให้เล็กลงและทำให้ราคาถูกลง ดันั้นสินค้าของเขาจึงขายได้เมื่อความต้องการมากขึ้นเขาจึงต้องขยายและย้ายบริษัทไปอยู่ในตัวเมือง และขอซื้อลิขสิทธิ์แรงดันไฟฟ้า AC ของ NEC เพื่อมาปรับปรุงเครื่องเล่นเทปของเขาอีกทางหนึ่งด้วย
เครื่องบันทึกเทปขายดีมากและเขาได้เดินทางไปอเมริกาเพื่อดูงานและได้ซื้อลิขสิทธิ์สิ่งประดิษฐ์ของ Bell Lap ในอเมริกาที่ชื่อว่า “ ทรานซิสเตอร์ “ กลับมาด้วยและเขาได้พัฒนามันเพื่อนำมาช่วยในการได้เสียงเหมือนจริงระดับสูง ( High Fidelity ) โดยการควบคุมความถี่เสียง แน่นอนว่ามันจะเข้ามาแทนที่หลอดสูญญากาศที่มีขนาดใหญ่เทอะทะ ในเมื่อมันเล็กกว่ามันก็จะสามารถเล่นได้นานกว่ามื่อเทียบกับแบตเตอรี่ขนาดเดียวกัน ซึ่งพัฒนาการเพิ่มกำลังของทรานซิสเตอร์ของเขา โดยการอาบฟอสฟอรัสในแผ่นเจอร์มาเนียมและได้ผลเป็นที่น่าพอใจในเวลาต่อมา
จากการที่บริษัทเขาใหญ่ขึ้น และการออกไปดูงานต่างประเทศทำให้เขารูสึกว่าชื่อบริษัทยาวเกินไป และต้องการเปลี่ยนมันรวมถึงสัญลักษณ์ที่ทำให้ผู้บริโภคสามารถจำได้ และจากการคัดเลือกรวมถึงการออกเสียงแล้ว ในที่สุดเขาก็ได้ชื่อออกมาคือ “ SONY “ ในปี 1953 นี้เองรวมไปถึงตราสัญลักษณ์ก็ใช้เหมือนชื่อโดยเป็นตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ตลอดมา
การดำเนินธุรกิจ
เมื่อรู้ว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ไม่มีทรัพยากร ดังนั้นการที่จะใหญ่ได้ต้องดูตลาดต่างประเทศเป็นหลัก โดยเฉพาะประเทศที่มั่งคั่งเช่นอเมริกาหรือยุโรป เป็นต้น และการทำเครื่องบันทึกเทปของเราได้ถูกคู่แข่งพัฒนาขึ้นมาแข่ง ดังนั้นเพื่อเป็นเอกลักษณ์เขาจึงเรียกเครื่องบันทึกเทปของเขาว่า “ วอร์คแมน “ เพื่อส่งตลาดต่างประเทศ เป็นที่รู้กันดีว่าสินค้าญี่ปุ่นช่วงก่อนสงครามโลกเป็นของที่มีคุณภาพต่ำ ดังนั้นการส่งออกสินค้าเขาจึงพยายามตีตรา Made in Japan ให้มีตัวเล็กที่สุด ( แต่ SONY ขายของมีคุณภาพดี ) เพื่อไม่ให้ลูกค้าปฏิเสธก่อนที่จะได้ใช้สินค้า แน่นอนว่าเมื่อผลิตสินค้าที่ไม่เคยมีมาก่อน คนอื่นจะเห็นว่าเราเป็นหนูทดลอง โดยดูว่าเราขายได้หรือไม่ถ้าขายได้ดีเขาจะเข้ามาแข่งทันที ดังนั้นเมื่อเราพัฒนาสินค้าได้แล้วเราจะรีบออกสินค้าเพื่อเป็นเจ้าตลาดในช่วงแรก โดยเราจะทำเงินได้มากมาย ( SONY ใช้งบวิจัยพัฒนา 6 –10 % จากยอดขาย ) เมื่อคนอื่นมาทำตามเราก็จะรีบพัฒนามันต่อไปทันทีเพื่อให้เราใหม่เสมอ
สิ่งประดิษฐ์สิ่งหนึ่งที่ได้รับความนิยมสูงมากชิ้นหนึ่งคือ วอร์คแมน เกิดจากการที่เขาได้พัฒนาการฟังดนตรีเพื่อเป็นส่วนตัวแม้ในยามที่เดินทางอยู่บนท้องถนน หรือในท้องถนนจะมีคนแบกสเตอริโอบนบ่าแล้วฟังดนตรีเสียงดังรบกวนคนอื่น ดังนั้นเขาจึงพัฒนาโดยการนำเอาเครื่องเล่นเทปคาสเซ็ตต์ขนาดเล็กมาพัฒนาโดยเริ่มแรกด้วยการนำเอาวงจรบันทึกออกทำให้เครื่องเล็กลง แล้วกำหนดราคาขายให้หนุ่มสาวสามารถซื้อได้ การใช้หูฟังแบบคู่ แบตเตอรี่ขนาดเล็กและมีน้ำหนักเบา แม้ว่าจะต้องสู้กับฝ่ายบัญชีและคำเยาะเย้ยของคนอื่น ในไม่ช้ามันก็ได้พิสูจน์แล้วว่ามันดีขนาดไหน ด้วยคำสั่งซื้อที่ผลิตไม่ทันตามต้องการ อย่างไรก็ตามแม้ว่ามันจะขายดีอยู่แล้ว แต่เพื่อรักษาตลาดไว้ให้ใหม่เสมอ เขาจึงได้พัฒนาวอร์คแมนให้มีรูปแบบที่ต่าง ๆ กัน กล่าวกันว่าวอร์คแมนที่สามารถขายได้จนถึงปัจจุบันนี้ ( 1988 ) มีถึง 20 ล้านเครื่องเลยทีเดียว เมื่อขายได้มากขึ้นเขาก็เริ่มสร้างเครือข่ายในการจำหน่ายเพิ่มขึ้นมาด้วย ทั้งการขายผ่านทางตรงและทางตัวแทนจำหน่าย แต่อย่างไรก็ดีต้องขายใน Brand ของ SONY เท่านั้น
การดูความสามารถในการผลิตกับ Order ที่ได้นั้นเป็นสิ่งจำเป็นเนื่องจากถ้าเราขยายโรงงานมากขึ้นเพื่อรับ Order ที่เกิดขึ้นนั้นถือว่าเสี่ยงอย่างยิ่งรวมถึงการทำธุรกิจในต่างแดนนั้นก็เช่นเดียวกัน การที่จะทำธุรกิจในต่างประเทศนั้นเราต้องรู้ถึงสภาพความเป็นอยู่ของถิ่นนั้นรวมไปถึงวิถีทางการใช้ชีวิตของเขาด้วย ดังนั้นโมริตะจึงเดินทางไปอเมริกาโดยกำหนดค่าใช้จ่ายอย่างประหยัด การที่ได้เพื่อนที่เปรียบเสมือนครูของเขาคือ อดอล์ฟ กรอสส์ ทำให้เขาเรียนรู้ความเป็นอยู่ของอเมริกาได้ดีขึ้นมาก การที่ตัวแทนจำหน่ายในอเมริกามีการตุกติกทางด้านกฎหมาย การจะขายสินค้าโดยยึดถือราคาเป็นหลักโดยยอมให้ลดคุณภาพของสินค้าโดยผู้จัดจำหน่ายของ SONY ในอเมริกาเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ และลงเอยด้วยการเลิกสัญญา และจัดตั้ง โซนี่คอร์ปอเรชั่นแห่งอเมริกาในปี 1960 ซึ่งแม้ว่าจะติดปัญหาในด้านการแปลเอกสารเป็นภาษอังกฤษ การยินยอมจากกระทรวงการคลังญี่ปุ่น รวมไปถึงการ SET ราคาหุ้นที่จะขายในอเมริกา แต่ก็สามารถผ่านมันมาได้ ในปีนี้นอกจากการจัดตั้ง SONY อเมริกาแล้วเขายังเปิดโชว์รูมในนิวยอร์กอีกด้วย เพื่อที่จะเก็บเอาความคิดและวัฒนธรรมแบบอเมริกัน เขาจึงย้ายครอบครัวซึ่งมีภรรยาและลูกอีก 3 คนมาอยู่อเมริกาด้วย แต่สองปีต่อมาพ่อของโมริตะเสียชีวิตและเขาต้องเป็นหัวหน้าครอบครัว ดังนั้นเขาจึงย้ายกลับโตเกียว
การพัฒนานอกจากด้านเครื่องเล่นเทปที่โด่งดังแล้ว เครื่องเล่นวีดีโอ ยู-เมติกก็เป็นสินค้าอีกชนิดหนึ่งที่ขายดี โดยที่ฟอร์ดได้ซื้อเครื่องนี้เพื่อไปใช้ในการ Train ช่างและพนักงานขายของเขา ซึ่งการเข้ามาของฟิล์มสิบหกมิลลิเมตรของสถานีโทรทัศน์อย่างรวดเร็ว และแน่นอนเขาก็พัฒนามันอีก จากการใช้สำหรับธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดอันเทอะทะของมันเขาจึงพัฒนาม้วนเทปให้มีขนาดเล็กลง และก่อให้เกิดเครื่องเล่นวีดีโอเบต้าแมกซ์ที่สามารถใช้ตามบ้านได้ขึ้นมา ซึ่งเมื่อเขาคิดค้นได้เขาได้ทำการออกตลาดโดย Promote สินค้าตัวใหม่อย่างยิ่งใหญ่แม้การสำรวจตลาดจะไม่ได้ผลเท่าที่ควรก็ตาม แต่ในความคิดของโมริตะเขาอาจจะมี Six sense ที่มั่นใจว่าจะขายออก แม้ว่าเมื่อพูดตามเหตุผลแล้วมันไม่น่าจะขายได้ดีขนาดนี้
การพัฒนาด้านโทรทัศน์สีก็เช่นเดียวกัน เขาได้ซื้อลิขสิทธิ์หลอดภาพโครมาตรอนแต่อย่างไรก็ดี มันไม่ Work และบริษัทได้ยกเลิกไปและมาพัฒนาด้านไตรนิตรอนแทนโดยทำให้ภาพคมชัดขึ้น 30 % และในปี 1964 เขาก็เปิดโรงงานโทรทัศน์ขึ้นมาอีกเพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นทั้งในและนอกประเทศ
การเปิดตัวโชว์รูมเป็นตัวสำคัญที่จะทำให้ลูกค้าเห็นและรู้ถึงคุณภาพของเรา ดังนั้นโมริตะจึงพยายามเปิดโชว์รูมเพิ่มขึ้นนอกจากที่โตเกียวและนิวยอร์ก แน่นอนว่า SONY วางตัวเองเป็นสินค้าคุณภาพดี ดังนั้นโชว์รูมที่ต้องการจะตั้งทั่วโลกนั้นต้องเป็นจุดที่คนมากและกำลังซื้อสูง และในที่สุดเขาก็เปิดโชว์รูมอีกแห่งที่ ฌอง อาลิเซ่ส์ ใจกลางกรุงปารีส และตั้งโซนี่โพ้นทะเลที่สวิตเซอร์แลนด์อีกด้วย หลังจากนั้นอีกไม่กี่ปี ด้วยคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นเขาจึงคิดที่จะตั้งโรงงานในอเมริกา แต่จะเป็นสิ่งที่ผิดที่จะเปิดโรงงานนอกประเทศโดนที่ยังไม่มีระบบการขายและการตลาดที่นั่นก่อน ดังนั้นเขาจึงได้ดูลาดเลาและตรวจสอบ Supplier ที่ต้องการและขนาดตลาดที่เพียงพอต่อการผลิต และในปี 1971 จากการจ่ายค่าขนส่งที่แพงและความยืดหยุ่นต่อความต้องการในอเมริกา ดังนั้น SONY จึงเปิดโรงงานขึ้นในปีนี้เอง
และแน่นอนคุณจะทำงานไม่ได้ดีหากคุณไม่มีลูกจ้างที่ดี นักบริหารญี่ปุ่นจะเน้นความสัมพันธ์ระหว่างเจ้านายกับลูกจ้าง โดยที่เขาจะพยายามเจอพนักงานใหม่ทุกคน ซึ่งเขาจะสอนให้รู้ถึงความรับผิดชอบในการทำงานและโอกาสที่จะได้รับ และจากการโดนยึดครองจากกลุ่มสัมพันธมิตรและคลอดกฎหมายแรงงานใหม่ออกมา ทำให้คนรวยต้องเสียภาษีมาก รวมไปถึงภาษีมรดกที่มหาศาลด้วย ( จนมีคนพูดกันว่า มรดกความมั่งคั่งจะโดนภาษีกินหมดใน 3 ชั่วอายุคน ) ทำให้ความเหลื่อมล้ำในด้านรายได้ไม่ต่างกันมากนัก ทำให้ไม่ค่อยมีปัญหาด้านแรงงานในญี่ปุ่นมากนัก อย่างไรก็ตาม SONY จะดูแลพนักงานอย่างดีและการจูงใจไม่ใช่แค่เงืนอย่างเดียวเหมือนในอเมริกา ซึ่งทาง SONY จะถือว่าพนักงานก็คือคนในครอบครัว ดังนั้นการหยุดงานหรือการ Strike นั้นจึงแทบไม่ได้เห็นเลย ถ้าลูกน้องเบื่อต่อการทำงานเดิมหรือต้องการความท้าทายใหม่ ๆ ทาง SONY ก็จะทำการจัดหาให้โดยการติดป้ายประกาศภายในทำให้เขาสามารถทุ่มเทกับงานใหม่ได้อย่างเต็มที่แทนที่จะอึดอัดกับงานเก่า แน่นอนว่าความคิดความอ่านหรือข้อเสนอแนะของพนักงานซึ่งเปรียบเสมือนครอบครัว จะได้รับฟังโดยปล่อยให้เขามีความคิดเป็นอิสระออกความคิดเห็น รวมถึงการเปิดโอกาสให้เขาได้ใช้ฝีมือด้วย ต่างกับในอเมริกาที่ฝ่ายบริหารคิดว่าตัวเองเก่งที่สุด ซึ่งส่งผลให้เทคนิคการจัดการในญี่ปุ่นแลอเมริกาต่างการโดยสิ้นเชิงคือ ญี่ปุ่นจะพยายามหาสิ่งที่ผิดพลาดเมื่อพนักงานทำผิดแต่อเมริกันกลับเลือกที่จะไล่ออกเพราะไม่ทำตามคำสั่ง มันมีผลถึงจิตใจพนักงานที่ไม่ดีและการเปลี่ยนงานบ่อยในอเมริกา ดังนั้นเมื่อโมริตะได้เข้าไปเป็นผู้บริหารในโซนี่อเมริกา เขาก็ได้พยายามใช้เทคนิคพนักงานคือครอบครัวไปใช้แทนระบบทั่วไปที่อเมริกาใช้อยู่ผลก็คือ คนงานยอมรับแม้จะค่อนข้างติดขัดในช่วงแรก การลาออกน้อยและขวัญกำลังใจในการทำงานดีขึ้น ซึ่งพนักงานในบริษัทส่วนใหญ่เป็นวิศวกรที่คอยนำเอาเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งเขาได้เคยกล่าวกับคนยุโรปที่กล่าวไว้ว่า “ เทคโนโลยีใหม่ ๆ คิดค้นในยุโรป “ โมริตะได้ยินเช่นนั้นจึงกล่าวกลับว่า “ เทคโนโลยีใหม่ถ้าไม่ได้นำเอาไปใช้ประโยชน์ในการประดิษฐ์เพื่อทำเป็นอุตสาหกรรมแล้ว จะมีประโยชน์น้อยกว่าการปรับปรุงจากความคิดมาเป็นอุตสาหกรรมเสียอีก “ แน่นอนว่าการที่เราจะทำการวิจัยหรือพัฒนางานสักชิ้นเราต้องกำหนดเป้าหมายและเวลาที่ทำอย่างชัดเจน ไม่เช่นนั้นจะเป็นการเปลืองเวลาและทรัพยากร
แน่นอนความแตกต่างในด้านวัฒนธรรมและการทำงานของญี่ปุ่นและอเมริกันที่ต่างกัน สร้างปัญหาให้แก่โซนี่อเมริกาพอสมควร ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดอันแรกคือการฟ้องร้องที่เกิดบ่อยจนแทบได้ว่าเป็นเรื่องปกติในอเมริกาไปเสียแล้ว แต่ในญี่ปุ่นการฟ้องร้องถ้าไม่จำเป็นจะไม่ทำกัน เนื่องจากจะให้เกียรติซึ่งกันและกัน โซนี่จะต้องเสียเงินจำนวนมหาศาลเพื่อจ้างทนายคอยปกป้องการฟ้องร้องที่เกิดเป็นประจำต่อบริษัท แม้ว่ามันจะเห็นได้ชัดว่าเขาถูกก็ตาม ดังนั้นใน อเมริกาจะไม่มีระบบไว้เนื้อเชื่อใจกันเลยแม้กระทั่งพนักงงานจากบริษัทหนึ่งเมื่อลาออกไปอยู่บริษัทคู่แข่งแล้วจะนำความลับติดตัวไปบอกบริษัทใหม่ด้วย การจะทำสัญญาหรืออะไรก็แล้วแต่จะมีการเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรเสมอเพื่อเอาไว้ใช้ยืนยันในชั้นศาล ซึ่งสาเหตุการฟ้องส่วนใหญ่มักจะเป็นในทำนองที่สินค้าญี่ปุ่นสามารถขายได้ในราคาที่ถูกกว่าที่ระดับคุณภาพเดียวกัน ดังนั้นคนอเมริกันจึงซื้อสินค้าญี่ปุ่น บริษัทในอเมริกาที่ขายไม่ออกและธุรกิจล้มลงก็กล่าวหาว่า SONY จะต้องรับผิดชอบในการทำให้เขาและพนักงานต้องตกงาน ดังนั้นในเวลาต่อมาเขาเริ่มลด Pressure ในด้านนี้โดยการเพิ่มวัตถุดิบและแรงงานที่ใช้ในอเมริกามากขึ้นและเป็นตัวแทนนำสินค้าอเมริกาเข้าไปขายในญี่ปุ่นอีกด้วย
อย่างที่กล่าวมาแล้วว่าในอเมริกาเขาจะแบ่งชนชั้นในด้านการบริหารและคนงาน คนงานคนหนึ่งจะถูกฝึกให้ทำงานอย่างเดียวเพื่อให้ชำนาญโดยไม่คิดถึงความเบื่อหน่ายของพนักงาน เมื่อโมริตะได้เข้าไปจัดการเขาก็เปลี่ยนระบบความคิดให้เป็นแบบญี่ปุ่นมากขึ้น การเอาใจใส่ไปพบพนักงานและกินข้าวร่วมกัน ทำให้ความเหลื่อมล้ำน้อยลง รวมไปถึงการยอมให้พนักงานมีการย้ายงานข้ามแผนกได้หากสนใจ การฝึกฝนของ SONY พนักงานฝ่ายผลิตต้องเป็นพนักงานขายก่อน 1 เดือนและในทำนองเดียวกัน พนักงานฝ่ายขายต้องอยู่ในโรงงานก่อน 1 เดือน เพื่อให้รู้ความสัมพันธ์ระหว่างการขายและการผลิต การไม่แบ่งชนชั้นนี้ส่งผลไปถึงห้องทำงานใน Office ด้วยคือจะไม่มีห้องส่วนตัวของผู้บริหารแต่จะเป็นการนั่งรวมกัน จะมีก็เพียงฉากกั้นเท่านั้น รวมไปถึงค่าจ้างที่ไม่ต่างกันมากนักสำหรับผู้บริหารและพนักงาน ดังนั้นเพื่อเป็นการปกป้องครอบครัวของตน SONY จึงเน้นการเติบโตอยู่ที่การเติบโตระยะยาวอย่างมั่นคงแทนที่จะเน้นกำไรมาก ๆ เพื่อผลประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นอย่างในอเมริกา การที่ผู้บริหารจะตัดสินใจในสิ่งนั้น ควรจะต้องพอมีความรู้ในธุรกิจนั้นพอสมควรด้วย แม้ว่ามันอาจจะไม่ขึ้นกับหลักการและเหตุผล แต่ในที่สุดจากการที่เขารู้ตัวเองและผู้อื่น มักจะทำให้ผลลัพธ์สุดท้ายถูกต้อง แนวทางการดำเนินงานของบริษัทจะต้องดำเนินต่อไปแม้ว่าจะเปลี่ยนผู้บริหารก็ตาม เป็นความคิดที่ทำให้พนักงานทั้งหมดเดินไปในทางเดียวกันได้ ผิดกับที่อเมริกาที่ผู้บริหารมักจะมีการล้างบางตลอดเมื่อมีการเปลี่ยนผู้บริหารระดับสูง
การที่ญี่ปุ่นสามารถแข่งขันได้ในทุกประเทศทั่วโลกเนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรงภายในประเทศนั่นเอง แน่นอนว่าการแข่งขันในประทศญี่ปุ่นเป็นไปด้วยความรุนแรงไม่ว่าด้านใดก็ตาม ทั้งการศึกษา การทำงาน หรือธุรกิจ การแข่งขันนี้อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตในประเทศแต่เมื่อมองอีกนัยหนึ่งแล้วพบว่า การแข่งขันที่รุนแรงนี้เองกลับเป็นแรงผลักดันที่ทำให้ธุรกิจของญี่ปุ่นสามารถแข่งขันได้กับทุกประเทศ แต่ธุรกิจที่กำลังจะ DOWN จะได้รับการช่วยเหลือจากรัฐในการให้ถอนตัวจากธุรกิจหรือปรับตัวไปสู่ธุรกิจใหม่ที่สดใสกว่า อย่างไรก็ตามสำหรับธุรกิจที่ต่างประเทศทำได้ดีกว่า รัฐจะไม่สนับสนุน ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์และเอาใจใส่ของรัฐบาลต่อบริษัทเอกชน
การลงทุนซื้อเครื่องจักรหรือเทคโนโลยีที่ต้องการนั้น เราต้องแน่ใจก่อนว่าจะเข้ากับบริษัทเราและมีบุคลากรที่สามารถรองรับเทคโนโลยีเหล่านั้นได้ รวมไปถึงต้องพัฒนาสิ่งนั้นให้ดีและใช้งานได้รวมไปถึงการปรับปรุงแบบใหม่ ๆ ให้ออกมาเสมอ ๆ ตัวอย่างในจีนที่ลงทุนกว้านซื้อเทคโนโลยีและเครื่องมือจากทั่วโลกมาแทนแรงงานคน ทั้ง ๆ ที่จีนมีประชากรมากอยู่แล้ว และไม่มี Skill เพียงพอที่จะใช้มัน ทำให้ประสิทธิภาพในการใช้เครื่องจักรต่ำและของออกมาคุณภาพไม่ดี ( แต่ปัจจุบันกำลังดีขึ้น ) ดังนั้นการแข่งขันในตลาดโลก เราต้องมองถึงว่าคุณภาพที่สามารถทำได้ถึงระดับโลกนั้นเป็นเช่นไร แล้วปรับตัวเข้าหามันโดยมีการแข่งขันเป็นเชื้อเพลิงขับดันไปให้ถึงจุดนั้น ซึ่งการแข่งขันนี้ในญี่ปุ่นมีมาอย่างช้านานแล้วเพื่อความอยู่รอด เนื่องจากแทบไม่มีทรัพยากรในประเทศเลยต้องนำเข้าเทคโนโลยีและวัตุดิบจากต่างประเทศเสมอ การประหยัดและการ Recycle เป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่นเดียวกันสำหรับ SONY การอยู่รอดเป็นสิ่งจำเป็น การลดการใช้เชื้อเพลิง การปรับปรุงการผลิต การทำของคุณภาพดีจากความรับผิดชอบของพนักงาน รวมไปถึงการกระหายและต้องการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ และเลือกที่จะใช้การประยุกต์มากกว่าการคิดค้นวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ ทำให้ SONY สามารถอยู่รอดได้แม้ในภาวะวิกฤต การปรับปรุงนี้ส่งผลไปถึงการอบรมซึ่งญี่ปุ่นเน้นทางด้านนี้มาก เพราะพนักงานเป็นปัจจัยหลักสำหรับการปรับปรุงให้สินค้ามีความทันสมัยเสมอเพื่อเป็นเจ้าตลาด โดยการนำเทคโนโลยีที่ดีและมีอนาคตมาปรับปรุงร่วมกันโดยยอมเสียค่า R&D ในสิ่งที่ไม่ Work ดีกว่าที่จะดั้นด้นผลิตมันออกมาแล้วเสียหายภายหลัง ซึ่งการวิจัยนี้ในช่วงหลังมักจะเป็นการประชุมหรือวิจัยร่วมกัน แล้วต่างคนต่างนำไปผลิตเป็นสินค้าของตัวเอง
แน่นอนว่าเมื่อคุณจะทำธุรกิจระดับสากลแล้ว คุณจำเป็นต้องยอมรับความคิดที่เป็นสากลด้วย การที่เราจะทำงานร่วมกับคนอเมริกาหรือยุโรปที่เขาคิดว่าเขาเก่งที่สุดในโลกนั้น เราต้องปรับตัวให้ทันทั้งการปรับตัวด้านวัฒนธรรมที่ต้องออกความเห็นบ่อย ๆ การรับฟังความคิดคนอื่น การปรับปรุงการใช้ภาษาอังกฤษ รวมไปถึงการเตรียมทนายความเมื่อมีการฟ้องร้องเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำทั้งสิ้น การที่ต้องยอมอ่อนต่อประเทศคู่ค้าและรับสินค้ามาขายบ้างเป็นเรื่องที่จำเป็น และแน่นอนความสัมพันธ์บางอย่างเพื่อความสำเร็จต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลทั้ง 2 ประเทศด้วยเพราะการติดปัญหาด้านกฎหมายนั้นเป็นสิ่งสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ ซึ่งส่งผลให้เราต้องปรับตัวเอง ที่จะส่งออกอย่างเดียวซึ่งทำให้ประเทศคู่ค้าต้องเสียดุล เราต้องไปลงทุนหรือใช้วัตถุดิบในประเทศนั้นหรือรับของเขามาขายเป็นการตอบแทนบ้างแม้ว่าจะเป็นการเพิ่มรายจ่ายโดยไม่จำเป็นให้แก่เราเพื่อผลประโยชน์ระยะยาวของบริษัท และการลงทุนในประเทศโลกที่ 3 ของ SONY เพื่อเป็นการยกระดับธุรกิจเขาซึ่งอาจเป็นลูกค้าหลักในอนาคตก็ได้
ใช่ว่าเมื่อคุณทำธุรกิจได้ดีแล้วจะประสบความสำเร็จเสมอไป ปัจจัยบางอย่างที่ควบคุมไม่ได้เช่นอัตราแลกเปลี่ยน สามารถทำให้บริษัทรุ่งหรือร่วงได้ในพริบตา เนื่องจากสมัยนี้มีการค้าเงินกันมากขึ้นทำให้การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนต่อวันสามารถเปลี่ยนแปลงได้มากถึง 15 % ต่อวันเลยทีเดียว รวมไปถึงกำแพงภาษีที่ไม่สามารถควบคุมได้ ผู้บริหารควรมองจุดนี้เผื่อไว้ด้วย และแน่นอนว่าการทำธุรกิจในโลกนั้นเราต้องพูดมากขึ้นและปิดกั้นตัวเองให้น้อยลง นอกจากนี้ยังควรดูปัจจัยอื่นที่ส่งผลกระทบต่อเราด้วยโดยเฉพาะของคู่แข่ง โดยเราต้องมองไปในอนาคตว่าอีก
10 – 20 ปีข้างหน้าผู้บริโภคต้องการอะไร และแน่นอนเราจะผลิตเท่าที่เราขายได้เท่านั้น
ความสำเร็จของโมริตะและ SONY นั้นเป็นการบอกถึงความพยายามที่บริษัทหนึ่งที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความหวังและความพยายามที่จะเปลี่ยนภาพลักษณ์ของสินค้าที่โดนดูถูกว่าห่วยในสายตาของคนภายนอก มาเป็นสินค้าที่ดีในสายตาของคน ๆ นั้น โดยการปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีที่ทันสมัยและนำมันมาประยุกต์ใช้ในงานอุตสาหกรรม รวมไปถึงการเข้าใจถึงระบบการทำงานที่เป็นสากลเพื่อการขยายตัวสู่ตลาดโลก เพื่อให้มั่นใจได้ว่าของที่ดีคือของที่ “ Made in Japan “
ขอบคุณบทความจากคุณก้องเกียรติครับ