Domain Authority คืออะไรแล้วทำยังไงให้ domain เป็น authority

Domain authority (DA) มีอยู่หลักการให้คะแนนอยู่ตั้งแน่ 1-100 ครับ ซึ่งปัจจัยสำหรับการให้คะแนนนั้นก็มีอยู่มากมายนับไม่ถ้วนครับ แต่โดยหลักๆ แล้วก็จะมีอยู่ 3 ปัจจัยที่ส่งผลโดยตรงกับ Domain Authority นี้ครับ ก็คือ

  1.  Domain Age (อายุโดเมน) ทุกๆ วันนี้ถ้ามองง่ายๆ ก็คือจะมีเว็บจำนวนมากมายมหาศาลที่เกิดใหม่ทุกๆ นาที ซึ่งแน่นอนถ้าหากว่าจะจัดให้ Domain ที่เกิดใหม่ได้คะแนนก็คงไม่ได้ เพราะว่า Domain เกิดใหม่ทั้งหลายนี้มีโอกาศที่จะเป็นเว็บที่ไม่มีคุณภาพสูง มากกว่าเว็บที่เกิดมาแล้วสักพักหนึ่ง  ซึ่งตรงนี้เราสรุปได้ว่าอายุโดเมนนั้นเกี่ยวข้องโดยตรงกับการให้คะแนน Domain Authority ยิ่งอายุเยอะ การจะได้คะแนนก็สูงมากตามไปด้วยครับ ส่วนเว็บที่เกิดใหม่นั้นเมื่อไรคะแนน Domain Authority ถึงจะขึ้น?  อันนี้หลังจากที่ผมทดสอบสักพักทำให้คาดการณ์ได้ว่าอย่างเร็วที่สุดที่จะขึ้นก็คือ 4 เดือนครับ แน่นอนว่าตัวเลขนี้ไม่ตายตัวครับ จะปรับเปลี่ยน เปลี่ยนแปลงเมื่อไรก็ไม่มีใครรู้ ทุกท่านต้องทดสอบด้วยตนเองเรื่อยๆ ครับ
  2. Domain Size (ขนาดเว็บไซต์) หมายถึงจำนวนเนื้อหาในเว็บไซต์ว่ามีจำนวนมากแค่ไหน ซึ่งตรงนี้ Google ไม่รู้หรอกครับว่าเว็บมีเนื้อหามากน้อยแค่ไหนในปกติ แต่หากมองอีกมุมหนึ่งเราก็จะสังเกตได้จากจำนวน Index ครับ หากว่าเว็บไซต์ที่มีจำนวน Index เยอะๆ ก็จะได้ Domain Authority เพิ่ม “แต่” ไม่ใช่การปั่น Index นะครับ ซึ่งตรง Index ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก็จะมีการตรวจสอบอีกว่าหน้านั้นเป็น Page Authority ด้วยหรือป่าว แล้วอะไรคือ Page Authority ล่ะ? Page Authority ก็คือหน้าเว็บไซต์ที่มีคุณภาพ โดยรวมแล้วก็คือหน้าเว็บที่มีการเขียนบทความที่ดีและเป็นการเขียนบทความขึ้นมาด้วยตัวเอง
  3. Domain popularity (outbound Link & inbound Link) เป็นการเกี่ยวจัดการเกี่ยวกับ การทำ outbound Link และ inbound Link ซึ่งความหมายของทั้งสองคำในภาษาบ้านๆ เลยก็คือว่าการทำ link ข้างนอกเว็บไซต์ และ การทำ link ข้างในเว็บไซต์ หลักการทำ outbound Link คือการทำ Backlink เข้ามาสู่เว็บไซต์ โดยเน้นที่มีคุณภาพและมีคะแนน Domain Authority ที่ดี ส่วนนี้สำคัญมากหากว่าเราหา Backlink จากเว็บไซต์ที่คะแนน Domain Authority ไม่ดีนั้นจะทำให้เว็บไซต์เราอันดับหายไปได้ และหากว่ามี Link จากที่คะแนน Domain Authority ไม่ดีจำนวนมากๆ นั้นหมายถึงเว็บของคุณก็จะได้คะแนน Domain Authority ต่ำมากๆ ไปด้วย เพราะเฉพาะนั้ทุก Link ที่เข้ามาสู่เว็บไซต์เราต้องคัดสรรครับ เลือกให้ดีก่อนถ้าจะซื้อ Backlink ก็ให้ผู้ขาย Backlink บอกคะแนน Domain Authority มาให้เราดูด้วยครับ ส่วน inbound Link ก็คือการเชื่อมโยง Link ภายในเว็บไซต์เอง หมายความว่ามีการทำ Link กันไปมาระหว่างบทความ และในหน้าเพจต่างๆ แบบไม่น่าเกียจจนเกินไปนะครับ เชื่อมกันแบบพอดีเฉพาะบทความที่ต้องการอ้างอิงถึง บทความที่ผู้อ่านจำเป็นต้องรู้หรือต้องการรู้ครับ
Domain Authority
เปรียบเทียบ Domain Authority ของเว็บไทย ภาพนี้เช็คจาก robingupta.co

แน่นอนครับว่าปัจจุบันนี้ทุกๆ Search Engine ได้ปรับเปลี่ยนการจัดอันดับตลอดเวลา การให้คะแนน Domain Authority ก็คืออีก 1 หลักการที่เพิ่มเข้ามาเพื่อคัดสรรเว็บไซต์ที่มีคุณภาพ  ให้แสดงบนหน้าการค้นหาครับ ซึ่งการตรวจสอบคะแนน Domain Authority  ก็มีอยู่หลายๆ วิธีครับ จะเข้าไปเช็คจากในเว็บไซต์ก็ได้ครับที่ http://www.robingupta.co หรือว่าจะใช้ Plugin ของ Firefox ก็ได้ครับ ชื่อ SEO Toolbar by SEOmoz และคราวหน้าหากว่ามีบทความดีๆ เกี่ยวกับ SEO ผมก็จะมาอัปเดทให้เรื่อยๆ นะครับ ไม่หายหน้าหายตาไป เป็น 2 ปีกว่าๆ แบบนี้แล้วครับ

Case Study Keyword “รับทำ SEO”

หลังจากที่ผมลงไปทำ SEO แข่งกับเว็บดังๆ ในประเทศไทยที่รับทำ SEO กันผ่านมาประมาณ 1 อาทิตย์แล้ว  วันนี้ก็มารายงานผล + มาบอกวิธีการทำ SEO ให้ทุกๆ คนเป็น Case Study ครับ  เริ่มที่การรายงานผลการลงไปเล่น Keyword รับทำ SEO กันก่อนแล้วกันครับ

เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2552 ผมได้ลองเพิ่มบทความที่เน้น Keyword รับทำ SEO มา  ผ่านไป 1 สัปดาห์ บทความที่ผมเขียนนี้มันก็ขึ้นหน้าแรกอย่างที่ผมคาดการณ์เอาไว้ครับและอันดับดีซะด้วย!! ไต่อันดับได้แรงมากกว่าเว็บพี่ Kasama และพี่ไก่  สามารถไต่ไปได้ถึงอันดับ 4 ณ วันที่ 11 แล้วก็วันที่ 14 ก็ได้ตกมา 1 อันดับอยู่อันดับที่ 5 ใน Keyword รับทำ SEO จบการรายงานข่าว

รับทำ SEO
รับทำ SEO

Case Study ของ Keyword นี้สำหรับผมแทบจะไม่ได้ทำอะไรมากมาายเลยครับ  สำหรับ Off Page factor (ปัจจัยภายนอกพวก BackLink) แต่ที่ผมเน้นก็คือ On Page factor ครับหรือการทำ SEO จากปัจจัยภายในหน้าเว็บไซต์นั้นเอง (แปลเป็นไทยแล้วงงๆ ปะครับ – -* ) ปัจจัยภายในที่สำคัญๆ ที่ผมทำมีอยู่ 5 จุดดังนี้ ..
Continue reading “Case Study Keyword “รับทำ SEO””

วิธีการทำ SEO ขั้นพื้นฐาน

1.ทำการปรับแต่งเนื้อหาของเว็บไซต์ให้มีความน่าสนใจ และเพิ่มเนื้อหาใหม่ๆ ทุกวัน
2.ทำการปรับปรุง MATA Tag ของเว็บไซต์ให้ตรงกับเนื้อหาในแต่ละหน้า (Keywords , Descriptions , Title Tags)
3.ทำการเพิ่มปริมาณของ Backlink ที่มีคุณภาพให้กับเว็บไซต์ให้ได้เยอะที่สุด วิธีการที่ง่ายที่สุดคือทำการ Submit Articlesกับเว็บไซต์submityourarticle.com แต่เราต้องเขียนเนื้อหาให้ถูกต้องตามหลักการของภาษาอังกฤษก่อนนะครัให้ง่ายๆ ก็จ้างเขาเขียนเอาก็ได้ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 1-2 $ ต่อ Article
4.ให้ Keyword ที่ผู้ใช้ต้องการค้นหาอยู่ใน URL ของเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่น ผมต้องการทำ SEO ให้กับ Keyword “Error-หน้า-404″ก็จะเพิ่มคำว่า”Error-หน้า-404″ไว้ในURLของเว็บไซต์ http://www.sutenm.com/2008/09/01/วิธีจัดการ-Error-หน้า-404/ ไว้ในเว็บไซต์ด้วย
5. รอตรวจสอบผลการทำงานเมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 1 เดือน โดยใช้วิธีการเช็ค Backlink ,
PR จาก Search Engine โดยสามารถเข้าไปเช็ครายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ iwebtool.com